ประสิทธิผลการบรรจุบุคลากรข้าราชการตั้งใหม่ ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในสถานการณ์การระบาดของโรคโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • อุจนีย์ พรชัยสุขศิริ กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ฉวีวรรณ สำเภา กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • วิไลวรรณ ประโยชน์ กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ธนินทร์พัทรา จันทร์อาภรณ์ กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การบรรจุข้าราชการ, ประสิทธิผล, ภาวะฉุกเฉิน, ไวรัสโคโรนา 2019, มติคณะรัฐมนตรี

บทคัดย่อ

เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563 มติคณะรัฐมนตรีอนุมัติอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กระทรวงสาธารณสุขเพื่อรองรับ ภาวะฉุกเฉินในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และให้ดำเนินการคัดเลือกเป็นกรณีพิเศษ ตาม ที่ ก.พ. กำหนด 24 สายงาน จำนวน 38,105 อัตรา ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 ปี จึงจำเป็น ต้องมีการปรับกระบวนการดำเนินการบรรจุข้าราชการเพื่อให้ทันเงื่อนเวลา การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการบรรจุบุคลากรการจ้างงานทางเลือก ได้แก่ พนักงานราชการ พนักงาน กระทรวงสาธารณสุข และลูกจ้างชั่วคราว (รายเดือน) เป็นข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 22 สายงาน จำนวน 34,914 อัตรา และสรุปบทเรียนทีได้จากการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรค เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการ ศึกษาโดยรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากผลการบรรจุและข้อมูลเชิงคุณภาพ จากเอกสารทางราชการ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการอภิปรายกลุ่มกับผู้เกี่ยวข้องทั้งใน ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผลการศึกษาพบว่า การบรรจุบุคลากรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ มีผลสัมฤทธิ์ ระดับสูง สามารถบรรจุบุคคลเข้ารับราชการได้ถึงร้อยละ 94.7 ของตำแหน่งที่ได้รับจัดสรรทั้งหมด ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จ คือ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการบุคลากรสาธารณสุขที่เชื่อมโยงข้อมูล บุคลากรระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารในการวางแผน ตรวจสอบ และแก้ปัญหา ประกอบกับการปรับกระบวนการคัดเลือกโดยการมอบอำนาจของปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นผู้มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก และมอบหมายให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป เป็นประธานกรรมการคัดเลือก จากข้อค้นพบดังกล่าว ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้กำหนดนโยบายจัดการข้อมูลบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งด้านความถูกต้อง ครบ ถ้วน เป็นปัจจุบัน และสามารถเรียกใช้งานง่าย ทันเวลา นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ. และกระทรวงสาธารณสุข ควร ศึกษาร่วมกันเพื่อปรับปรุงมาตรฐานกำหนดตำแหน่งทุกประเภทการจ้างงานให้สอดคล้องกันเพื่อพัฒนาการบรรจุ และแต่งตั้งให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งในกรณีปกติและกรณีพิเศษที่อาจเกิดขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ