บทบาทของความสามารถตามเกณฑ์สมรรถนะวิชาชีพในฐานะปัจจัยทำนายสำคัญ สำหรับความลงตัวระหว่าง บุคลากรกับตำแหน่งงานตามความรู้สึกของบัณฑิตเภสัชศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตร 6 ปี ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ความลงตัวระหว่างบุคลากรกับตำแหน่งงาน, เภสัชกร, บัณฑิตเภสัชศาสตร์, หลักสูตรเภสัชศาสตร์บทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนเภสัชศาสตร์หลักสูตรเภสัชศาสตร์ 6 ปี ในประเทศไทยถือเป็นข้อบังคับ เพื่อผลิต เภสัชกรที่มีความรู้เฉพาะด้าน มีคุณลักษณะตามสมรรถนะทางวิชาชีพเภสัชกรรมในระดับสูง ตามความต้องการของ ตลาดแรงงานในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามเนื่องจากยังไม่เคยมีการประเมินถึงความเหมาะสมระหว่างงานและบัณฑิตที่ สำเร็จการศึกษาหลักสูตร 6 ปีในภาพรวมมาก่อน จึงได้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาความลงตัวระหว่างบุคลากรและตำแหน่ง งาน ของบัณฑิตเภสัชศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตร 6 ปี รวมทั้งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความลงตัวและไม่ลงตัว ระหว่างบุคลากรและตำแหน่งงานที่ทำ โดยเป็นการวิจัยแบบตัดขวาง ใช้แบบสอบถามออนไลน์เพื่อเก็บข้อมูล มีการ ตอบกลับจำนวน 163 ชุดคำตอบที่ถูกรวบรวมมาในการศึกษาวิจัยนี้ ความลงตัวระหว่างบุคลากรกับตำแหน่งงานถูก ประเมินแบบสองมิติคือ ความลงตัวที่คาดหวัง (expected person-job-fit) และความลงตัวตามความรู้สึก (selfperceived person-job fit) จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าบัณฑิตเภสัชศาสตร์ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง มีอายุระหว่าง 24-44 ปี อายุมัธยฐาน 26 ปี บัณฑิตเภสัชศาสตร์ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในสาขาบริบาล เภสัชกรรมจากมหาวิทยาลัยของรัฐ โดยร้อยละ 80 ของผู้ตอบแบบสอบถามทำงานทางด้านบริบาลเภสัชกรรม และ อีกร้อยละ 20 ทำงานทางด้านเภสัชอุตสาหการ บัณฑิตส่วนใหญ่รู้สึกว่าตนเองมีความสามารถตามเกณฑ์สมรรถนะ ทางวิชาชีพ (ร้อยละ 74 ทั้งในสาขาบริบาลเภสัชกรรมและในสาขาเภสัชอุตสาหการ) และมีความสามารถตามเกณฑ์ สมรรถนะทางวิชาชีพเป็นอย่างมาก (ร้อยละ 17 ในสาขาบริบาลเภสัชกรรมและร้อยละ 15 ในสาขาเภสัชอุตสาหการ) ร้อยละ 58 ของบัณฑิตเภสัชศาสตร์รู้สึกว่าตนเองเหมาะสมกับงานที่ทำ การกระจายตัวของความลงตัวตามความรู้สึก ไม่มีความแตกต่างกันในระหว่างสาขาวิชา การศึกษาวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงทัศนคติโดยตรงของบัณฑิตเภสัชศาสตร์ ถึงความเหมาะสมของตนเองในการปฏิบัติงานจริง อัตราส่วนของผู้ที่รู้สึกว่ามีความไม่ลงตัวกับงานที่ทำคือร้อยละ 42 ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่สูงและไม่ควรถูกมองข้าม บัณฑิตเภสัชศาสตร์จากทั้งสองสาขาวิชาแสดงให้เห็นความรู้สึกว่า ตนเองไม่เหมาะสมกับตำแหน่งงานในระดับที่ใกล้เคียงกัน ถึงแม้จะประเมินตนเองว่ามีความสามารถตามเกณฑ์ สมรรถนะวิชาชีพ จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงปรากฏการณ์ความไม่ลงตัวนี้ รวม ทั้งทำความเข้าใจถึงความลงตัวและความไม่ลงตัวที่เกิดขึ้นได้
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.