การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิตภายใต้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล สำนักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
  • สันติ ทวยมีฤทธิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ความรู้ และความพึงพอใจ องค์ประกอบที่ส่งเสริมความสำเร็จ และการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต ภายใต้ กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 265 คน กลุ่มที่ 2 คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จำนวน 15 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกและจัด กลุ่มข้อมูลผลการวิจัย พบว่า มีการกำหนดให้แต่ละพื้นที่ประชุมหารือเพื่อกำหนดรูปแบบกิจกรรมร่วมกัน เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขยังคงมีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิตทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ใน ด้านความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก (Mean=3.79, SD=0.715) โดยมีการดำเนินงานตามกระบวนการ วงจร PDCA ดังนี้ มีการวางแผน ดำเนินการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ประมวลผลและปรับปรุงข้อค้นพบ ด้าน องค์ประกอบที่ส่งเสริมความสำเร็จ ได้แก่ (1) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอควรมีความเข้มแข็ง และเป็นเอกภาพ (2) การสร้างภาคีเครือข่าย(3) การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (4) ประเด็นปัญหามาจากพื้นที่เป็น ผู้กำหนด (5) การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง การดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิตใช้หลัก 7S Model คือ แผนกลยุทธ์มีความชัดเจน เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร ผู้บริหารรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการทำงาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความรู้ และความชำนาญ และมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (3) การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิตมีความถูกต้อง เหมาะสม และมีความเป็น ไปได้ในการดำเนินงานส่งผลให้เด็ก 0 – 2 ปี ได้รับวัคซีน ร้อยละ 75.44 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากอดีต ข้อเสนอแนะ ควร ติดตามพัฒนาการเด็กในโรงเรียน ดูแลสุขภาพช่องปากพร้อมระบบส่งต่อและการขยายผลนำ Ratchasima Model นี้ ไปใช้กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอทั่วประเทศต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้