ทำไมคนไทยถึงขี้เมา
คำสำคัญ:
สุรา, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อประชากรบทคัดย่อ
องค์การอนามัยโลกได้รายงานว่าปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยในประชากรผู้ใหญ่ไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลากว่าสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของสุรากลั่นและเบียร์ แต่สถานการณ์ในไทยมีลักษณะแตกต่างจากประเทศที่มีปริมาณการบริโภคใกล้เคียงกันอื่น ๆ อยู่อย่างน้อย ๓ ประการคือ มีความชุกของผู้บริโภคต่ำและมีความแตกต่างระหว่างเพศ สูง, มีสัดส่วนของการบริโภคสุรากลั่นสูง, และมีปริมาณการบริโภคเฉลี่ยต่อผู้บริโภคสูง เมื่อพิจารณาจากความชุกของผู้บริโภคและความถี่ในการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยแล้ว อนุมานได้ว่าปริมาณการบริโภคต่อครั้ง (consumption per occasion) คือ ปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับการเพิ่มขึ้นของการบริโภคโดยรวม
ผู้บริโภคไทยสามารถเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยไม่มีอุปสรรคมากนัก ทั้งด้านสถานที่ ระยะทาง เวลา การจำกัดผู้ซื้อ โดยเฉพาะกลไกทางเศรษฐศาสตร์ เพราะคนไทยมีกำลังการซื้อมากขึ้น ในภาพรวมค่าใช้จ่ายสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของครัวเรือนไทยในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๕ ถึง ๒๕๔๗ เติบโตในอัตราก้าวหน้ามากกว่าค่าใช้จ่ายโดยรวมและรายรับของครัวเรือน แต่ราคาของสุรากลั่นที่แท้จริงค่อนข้างคงที่ ในขณะที่ราคาของเบียร์กลับลดต่ำลงในช่วงเวลา พ.ศ. ๒๕๓๓ ถึง ๒๕๔๔ นอกจากนั้นกลยุทธ์ทางการตลาด ของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังเข้มข้นและซับซ้อนมากขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา ดังนั้นจึงจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมีมาตรการที่สามารถควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นเพื่อลดปริมาณการบริโภคและความเสี่ยงเพื่อให้สามารถควบคุมปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.