อัตราการติดเชื้อเลปโตสไปราของประชากรที่อาศัยในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีและไม่มีรายงานผู้ป่วย

ผู้แต่ง

  • สุรชัย ศิลาวรรณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๕ นครราชสีมา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • สุธารัตน์ วิทย์ชัยวุฒิวงศ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๕ นครราชสีมา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • จันทรา กฤษณสุวรรณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๕ นครราชสีมา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ธงชัย สิทธิยุโณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

อัตราการติดเชื้อ, เลปโตสไปรา, ประชากรจังหวัดบุรีรัมย์

บทคัดย่อ

                        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอัตราการติดเชื้อ ความชุกของการติดเชื้อเลปโตสไปรา ใน รอบ ๑ ปี และชนิดของเชื้อก่อโรค เปรียบเทียบระหว่างสองพื้นที่ที่มีและไม่มีรายงานการเกิดโรคติดต่อกัน ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๔๓ - ๒๕๔๕) โดยศึกษาแบบไปข้างหน้า (prospective study) นาน ๑ ปี ผู้เข้าร่วมการศึกษาเป็นชาย อายุ ๑๕-๖๕ ปี ที่สมัครเข้าร่วมโครงการตลอดการศึกษาในปี ๒๕๔๖ - ๒๕๔๗ มีผู้เข้าร่วมการศึกษาในพื้นที่ที่มีรายงานการเกิดโรค ๑๑๐ ราย และพื้นที่ไม่มีรายงานการเกิดโรค ๑๑๖ ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ประวัติเสี่ยง และเจาะเลือด ๒ ครั้งเพื่อหาระดับภูมิคุ้มกันชนิด IgM และ IgG โดยวิธี Indirect Immunofluorescent Antibody (IFA) และตรวจหาชนิด serovar โดยวิธี Microscopic Agglutination test วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้อัตรา อัตราส่วน สัดส่วน และค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (relative risk) ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕

                        ผลการศึกษาพบว่า ในการเจาะเลือดครั้งที่ ๑ อัตราการติดเชื้อในพื้นที่มีรายงานผู้ป่วย สูงกว่าพื้นที่ไม่มี รายงานผู้ป่วย (RR=๓.๕๒, ๙๕% Cl=๐.๙๙ - ๑๒.๔๔) ในการเจาะเลือดครั้งที่ ๒ พบอัตราการติดเชื้อใน รอบ ๑ ปี ลดลงเหลือร้อยละ ๖.๓๖ ในพื้นที่ที่มีรายงานผู้ป่วย ส่วนในพื้นที่ที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยมีอัตราการติดเชื้อเท่าเดิม ในการเจาะเลือดครั้งแรก ในพื้นที่ที่มีรายงานผู้ป่วย พบความชุกของการติดเชื้อร้อยละ ๑๑.๘๒ และในพื้นที่ที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยพบความชุกร้อยละ ๒.๕๘ (RR=๔.๕๗, ๙๕% CI= ๑.๓๔ - ๑๕.๖๐) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการตรวจครั้งที่สอง พบความชุกของไรคในพื้นที่ที่มีรายงานผู้ป่วยร้อยละ ๙.๐๙ และในพื้นที่ที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยร้อยละ ๒.๕๘ ระดับไตเตอร์ของภูมิคุ้มกันทั้ง IgM และ IgG ที่ตรวจพบ อยู่ระหว่าง ๑:๑๐๐ ถึง ๑:๒๐๐ กลุ่มที่ตรวจพบระดับภูมิคุ้มกันชนิด lgM ในการตรวจครั้งแรกพบ IgM ครั้งที่ ๒ ร้อยละ ๔๐ แต่ตรวจไม่พบ IgG กลุ่มที่ตรวจพบ IgG ในครั้งแรกยังคงตรวจพบ IgG ในครั้งที่ ๒ ชนิด serovar ที่พบคือ serogroup Australis (serotype) Bratislava และกลุ่มที่มีระดับภูมิคุ้มกัน ทั้ง IgM และ IgG ในการตรวจครั้งที่ ๒ ไม่มีประวัติมีไข้หรือเจ็บป่วยแต่อย่างใด การศึกษาครั้งนี้แสดงถึงยังมีการติดเชื้อในพื้นที่ แต่ไม่พบอาการและอาการแสดงที่รุนแรงของโรค

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-13

วิธีการอ้างอิง