พฤติกรรมการทำร้ายตนเองของผู้ป่วย ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรม, การทำร้ายตัวเอง, เพศ, กลุ่มอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทางประชากร ปัญหา สาเหตุและพฤติกรรมการทำร้ายตนเองของผู้ป่วยที่มารับบริการที่ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ใน พ.ศ. 2549-2551 จำนวน 113 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์มาตรฐานที่พัฒนาโดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบ ไคสแควร์ เพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรที่มีนัยสำคัญ การศึกษาพบผู้ป่วย หญิง 69 คน ชาย 44 คน อัตราส่วนระหว่าง หญิงต่อชาย เท่ากับ 1.57 : 1 เหตุกระตุ้นที่พบบ่อย คือ การทะเลาะกับคนใกล้ชิด ผิดหวังในความรัก หึงหวงและน้อยใจที่ถูกตำหนิ ร่วมกับภาวะซึมเศร้า วิธีการที่ใช้ส่วนใหญ่ คือ กินสารเคมี และกินยาเกินขนาด เนื่องจากอยู่ใกล้มือ หยิบฉวยได้ง่าย ความสัมพันธ์ของตัวแปรกับเพศ พบว่า เพศชาย มีการดื่มสุรา ใช้สารเสพติด กินสารเคมี และเลือกใช้วิธีที่อาจทำให้เสียชีวิตมากกว่าเพศหญิง ส่วนเพศหญิงมี ระดับการศึกษา, โรคประจำตัว และใช้วิธีกินยาเกินขนาดมากกว่าเพศชาย ความสัมพันธ์ของตัวแปรกับกลุ่มอายุ พบวัยผู้ใหญ่มากที่สุด รองลงมาเป็นวัยรุ่นและวัยชราน้อยที่สุด ความแตกต่างในแต่ละวัย ในวัยรุ่นหญิงมากกว่าชาย 3.7 เท่า ใช้วิธีกินยาเกินขนาดเป็นส่วนใหญ่ วัยผู้ใหญ่ หญิงมากกว่าชายเล็กน้อย ใช้วิธีรุนแรงมากขึ้น โดยมากกว่าครึ่งกินสารเคมี ส่วนวัยชราชายมากกว่าหญิง 2 เท่า ใช้วิธีกินสารเคมีทั้งหมด การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงปัญหา สาเหตุ และพบว่าพฤติกรรมการทำร้ายตนเอง เกิดจากการที่ผู้ป่วยไม่สามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ที่บีบคั้น ขาดทักษะในการแก้ไขปัญหาและการสื่อสารเพื่อขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นส่วนวิธีการที่เลือกใช้ขึ้นอยู่กับเพศ วัย วุฒิภาวะทางอารมณ์ และภาวะซึมเศร้า โดยมีแนวโน้มที่จะใช้วิธีที่รุนแรงเมื่อ อายุมากขึ้นข้อมูลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนเพื่อการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.