การประเมินความเสี่ยงของสารอะคริลาไมด์ในอาหารต่อคนไทย

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ โรจนพรรณทิพย์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พรรณทิพย์ ตียพันธ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • มยุรี อุรารุ่งโรจน์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พนาวัลย์ กลึงกลางดอน สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

ประเมินความเสี่ยง, อะคริลาไมด์ในอาหาร, คนไทย

บทคัดย่อ

          การประเมินความเสี่ยงของคนไทยจากการได้รับสารอะคริลาไมด์จากอาหารดำเนินการใน พ.ศ. 2550-2551 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงของสารนี้ต่อคนไทย ข้อมูลความเสี่ยงที่ได้ใช้สนับสนุนการกำหนดค่า มาตรฐานสารอะคริลาไมค์ในอาหารของประเทศไทยและมาตรฐานอาหารสากล และสื่อสารความเสี่ยงให้ประชาชนทราบ การศึกษากระบวนการบ่งชี้ความเป็นอันตรายและการประเมินการตอบสนองต่อปริมาณศึกษาโดยทบทวนข้อมูลจากเอกสาร ปริมาณการได้รับสัมผัสประเมินได้จากปริมาณสารอะคริลาไมค์ในอาหารร่วมกับปริมาณการบริโภค การประเมินความเสี่ยงทำโดยเปรียบเทียบปริมาณการได้รับสารอะคริลาไมด์กับค่าความปลอดภัย การวิเคราะห์ปริมาณสารอะคริลาไมค์ใช้ High Performance Liquid Chromatograph Mass Spectrometer-Mass Spectrometer (HPLC-MS-MS) ได้วิเคราะห์อาหารที่เสี่ยงต่อสารนี้ รวมทั้งสิ้น 469 ตัวอย่าง พบปริมาณเฉลี่ยสูงสุดในพริกป่น (2.179 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) รองลงมาคือขนมถุงขบเคี้ยวที่ทำจากแป้งมันฝรั่ง (1,879 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ขนมถุงขบเคี้ยวที่ทำจากมันฝรั่ง (0.81.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) เฟรนช์ฟรายด์ (0.710 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) และกาแฟผงสำเร็จรูป (0.655 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) สำหรับปริมาณการบริโภคพบคนไทยบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสูงสุด คณะวิจัยประเมินค่าความปลอดภัยของสารอะคริลาไมค์โดยใช้ข้อมูลพิษวิทยาที่มีอยู่ในปัจจุบันได้เท่ากับ 2 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน การศึกษาพบคนไทยได้รับสัมผัสสารอะคริลาไมด์โดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.50 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน คิดเป็น 0.25 เท่าของค่าความปลอดภัย ส่วนคนที่บริโภคสูงระดับ 97.5 เปอร์เซ็นต์ไทล์ได้รับสัมผัส เท่ากับ 3.19 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน คิดเป็น 1.6 เท่าของค่าความปลอดภัย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-05-22

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ