ผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืด ทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลเขาค้อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิด Pre-post test two group design ตั้งแต่ มกราคม 2551 ถึง เมษายน 2552 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืด โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ การศึกษามี 2 ระยะ คือ การวิจัยเชิงบรรยาย และการทดสอบผลของรูปแบบนี้ ประชากรระยะที่ 1 คือ ทีม สหสาขาวิชาชีพ 8 คน ผู้ป่วยหอบหืด 13 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แนวคําถามในการสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูล นําเสนอในรูปแบบบรรยายเชิงพรรณนา ระยะที่ 2 เป็นผู้ป่วยหอบหืด จำนวน 60 คน แบ่ง เป็นกลุ่มทดลอง 30 คนและกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับรูปแบบการดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ตามแนวคิดการสร้างเสริมพลังอำนาจของกิบสัน โดยการจัดให้เข้าร่วมกิจกรรม 5 ครั้ง (6 สัปดาห์) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) การค้นพบสภาพการณ์จริง 2) การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง 3) การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง และ 4) การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ การจัดกิจกรรมมีลักษณะเป็นรายกลุ่ม โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม เครื่องมือวัดผลการทดสอบคือ พฤติกรรมการควบคุมอาการหอบ จำนวนครั้งของการกลับมารักษาซ้ำ และค่าใช้จ่ายในการรักษา ผลการทดสอบภายใน 12 เดือน พบว่า ผู้ป่วยหอบหืดกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการควบคุมอาการหอบดีขึ้น จำนวนครั้งของการกลับมารักษาซ้ำและค่าใช้จ่ายในการรักษาลดลงกว่าก่อนทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p< 0.05)
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.