ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวาน ขึ้นจอประสาทตา ในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สมยศ ศรีจารนัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสํารวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่เดิมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 4,060 คนที่เข้ารับการตรวจจอประสาทตาใน 5 อำเภอที่ศึกษาระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง ตุลาคม 2551 จากนั้นนํามาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และ odds ratio การศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 89.8 มีอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยมีอายุเฉลี่ย 57.9 ปี ร้อยละ 79.21 สมรสแล้ว ร้อยละ 92.02 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และร้อยละ 84.63 มีอาชีพ เกษตรกรรม ด้านข้อมูลการเจ็บป่วย พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 96.31 เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ร้อยละ 56.70 เป็น โรค 5 ปีขึ้นไป ร้อยละ 85.25 รับการรักษาโดยวิธีการ กินยา ร้อยละ 47.34 มีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า หรือเท่ากับ 140 มก./ดล. ร้อยละ 27.29 มีภาวะความดันโลหิตสูง และร้อยละ 10.98 มีภาวะไขมันในเลือดสูง พบความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ร้อยละ 12.19 โดยผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ส่วนใหญ่เป็น mild NPDR คือ ร้อยละ 8.74 ในตาข้างขวา และร้อยละ 8.57 ในตาข้างซ้าย ส่วนระยะ PDR พบร้อยละ 0.44 ในตาข้างขวาและร้อยละ 0.37 ในตาข้างซ้าย ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะ เบาหวานขึ้นจอประสาทตาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ระยะเวลาที่เป็น วิธีการรักษา ระดับ น้ำตาลในเลือด และภาวะความดันโลหิตสูง กล่าวคือ ผู้ป่วยที่เป็นเบาบวานมานาน 5 ปีขึ้นไป จะพบภาวะ แทรกซ้อนนี้มากกว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้น้อยกว่า 5 ปี 3.11 เท่า (95%CI 2.50,3.88) ผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาเบาหวานจะพบภาวะแทรกซ้อนนี้มากกว่าผู้ป่วยที่งดใช้ยา 4.27 เท่า (95%CI 1.57,11.65) ผู้ป่วยเบาหวานที่มี ระดับน้ำตาลในเลือด 180 มก./ดล. ขึ้นไป จะพบภาวะแทรกซ้อนนี้มากว่าผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดน้อย กว่า 180 มก./ดล. 2.07 เท่า (95% CI 1.69,2.53) และผู้ป่วยโรคนี้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วยจะพบภาวะแทรกซ้อนนี้มากกว่าผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตปรกติ 1.44 เท่า (95%CI 1.17, 1.76)

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-05-22

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ