การตรวจแยกสายพันธุ์เชื้อวัณโรคด้วยวิธี Spoligotyping
คำสำคัญ:
วัณโรค, แยกสายพันธุ์, วิธี spoligotypingบทคัดย่อ
วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุข ทั่วโลกมีข้อมูลสายพันธุ์เชื้อวัณโรคหลายสายพันธุ์ แต่ในประเทศไทย ข้อมูลสายพันธุ์มีจำกัด การแยกสายพันธุ์เป็นเครื่องมือทางระบาดวิทยา วิธีการที่เหมาะสมจะแยกสายพันธุ์เชื้อใน ท้องถิ่นและเปรียบเทียบกับเชื้อต่างถิ่นหรือสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วโลกได้ ใช้ประโยชน์ในการสอบสวนโรคติดตามการแพร่ติดต่อ แสดงความหลากหลายและความสัมพันธ์ระหว่างสายพันธุ์ งานวิจัยนี้ทำการศึกษาวิธี spoligotyping ซึ่งใช้แพร่หลายในการแยกสายพันธุ์เชื้อวัณโรค โดยวิเคราะห์ความหลากหลายของ DNA 43 ตำแหน่ง ได้ผลตรวจพิสูจน์เชื้อและสายพันธุ์ จัดทำเป็นฐานข้อมูลสายพันธุ์เชื้อวัณโรค spoligotype ประยุกต์ใช้วิธีการเพื่อศึกษาสายพันธุ์เชื้อวัณโรคในจังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย และเพชรบูรณ์ จำนวนตัวอย่างเชื้อ 162 ตัวอย่าง แยกได้จากผู้ป่วยวัณโรคปอดนำผลการแยกสายพันธุ์ไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับข้อมูลสายพันธุ์ในฐานข้อมูลสากล SpoIDB4 พบเชื้อวัณโรคที่ศึกษา มีรูปแบบสายพันธุ์ spoligotype 34 รูปแบบ และพบสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่มีในฐานข้อมูล สายพันธุ์ที่พบมากที่สุดคือ East African-Indian (EAI) และ Bejing รองลงมาได้แก่ สายพันธุ์ H3, U, T1, BOV, S และ Bejing Like ตามลำดับ สัดส่วนของกลุ่มสายพันธุ์ที่พบมากได้แก่ EAI และ Beijing คิดเป็นร้อยละ 43.83 (71/162) และ 35.80 (58/162) ตามลำดับ ในกลุ่มสายพันธุ์ EAI พบสายพันธุ์ EA12_NTB (Nonthaburi) มากที่สุด ตรวจพบMycobacterium bovis ซึ่งแสดงการแพร่ติดต่อของวัณโรคจากสัตว์สู่คน วิธีการนี้เหมาะสมในการใช้แยกสายพันธุ์เชื้อวัณโรค ทำให้ทราบสายพันธุ์เชื้อในผู้ป่วย ความหลากหลายของสายพันธุ์ สายพันธุ์หลักที่มีจำนวนมาก พบสายพันธุ์ใหม่ ข้อมูลสายพันธุ์เป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวังและติดตามการแพร่ติดต่อของวัณโรค
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.