การพัฒนาเมนูอาหารว่างจากผักและผลไม้ เพื่อคุณค่าทางโภชนาการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองคลองหลวง 7 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • จุฑาวรรณ นวลจันทร์คง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
  • สุจาริณี สังข์วรรณะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
  • ศกุนตาล์ มานะกล้า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
  • ปัทมาภรณ์ เจริญนนท์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

เด็กก่อนวัยเรียน, อาหารว่าง, ผักและผลไม้, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเมนูอาหารว่างจากผักและผลไม้สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนให้มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมและประเมินความพึงพอใจทางประสาทสัมผัสต่อเมนูอาหารว่างจาก ผักและผลไม้ โดยกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองคลองหลวง 7 อำเภอคลองหลวง จังหวัด ปทุมธานี อายุระหว่าง 2-5 ปี จำนวน 43 คน จากการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเพื่อเก็บข้อมูลพฤติกรรมการ บริโภคผักและผลไม้ของเด็กก่อนวัยเรียนเพื่อพัฒนาเมนูอาหารว่าง ซึ่งผู้ปกครองเป็นผู้ให้ข้อมูล และเก็บข้อมูลความ พึงพอใจด้านคุณลักษณะประสาทสัมผัสด้านรสชาติ สี เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมจากแบบประเมิน 3-point hedonic scale สำหรับเด็กร่วมกับการสังเกตปริมาณที่บริโภคขณะทำการทดสอบต่อเมนูอาหารว่างที่พัฒนาทั้ง 8 เมนู ครั้งละ 15 คน ซึ่งมาจากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญหมุนเวียนรวม 8 ครั้งที่ทำการทดสอบเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ในเด็กก่อนวัยเรียน ส่วนใหญ่ไม่บริโภคผักแต่บริโภคผลไม้ได้ มากกว่า โดยชนิดของผักและผลไม้ทีได้รับความนิยมในการบริโภค ได้แก่ แครอท แตงกวา ฟักทอง บรอกโคลี แตงโม ่ กล้วย ส้ม และมะม่วงสุก ซึ่งคณะผู้วิจัยนำข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้รวมถึงชนิดของอาหารว่างมา พัฒนาเป็นเมนูอาหารว่าง 8 เมนู โดยแบ่งเป็น ขนม 6 เมนู และเครื่องดื่ม 2 เมนู ให้มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนเพื่อเป็นตัวอย่างเมนูหมุนเวียนสำหรับ 1 สัปดาห์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยอาหารว่างทีพัฒนา ่ มีพลังงานเฉลี่ย 102.50±26.20 กิโลแคลอรี ซึ่งไม่เกินร้อยละ 10.0 ของพลังงานที่ควรได้รับทั้งวัน และมีสารอาหาร เฉลี่ยประเภทโปรตีน (2.50 กรัม) ใยอาหาร (1.40 กรัม) และวิตามินซี (10.50 มิลลิกรัม) ในปริมาณสูง ผลการ ประเมินความพึงพอใจทางประสาทสัมผัสต่อเมนูอาหารว่าง พบว่า เมนูฟักทองพายเป็นเมนูที่ได้รับความชอบมาก ที่สุด ดังนั้น การพัฒนาเมนูอาหารว่างจึงเป็นทางเลือกสำหรับการจัดอาหารว่างที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการ ที่เหมาะสมและส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ทางอ้อมในเด็กก่อนวัยเรียน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้