พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพดีวิถีพุทธ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • อุทัย สุดสุข มูลนิธิอุทัย สุดสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ธีรพร สถิรอังกูร สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • พัชรีย์ กลัดจอมพงษ์ กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • บุษบา ใจกล้า มูลนิธิอุทัย สุดสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ, สุขภาพดีวิถีพุทธ, การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบ และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพดีวิถีพุทธเพื่อป้ องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ออกแบบการวิจัยสองกลุ่มเปรียบเทียบก่อน และหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่ วยโรคเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูงทีไม่สามารถควบคุม ่ ได้ จำนวน 99 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้รูปแบบ 50 คน และกลุ่มที่ไม่ใช้รูปแบบ 49 คน เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยผสานวิธีทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือทีใช้ในการศึกษา คือ (1) โปรแกรมการ ่ สร้างเสริมสุขภาพดีวิถีพุทธด้วยการปฏิบัติตนตาม 3ส.3อ.1น. หรือโปรแกรม 3ส.3อ.1น. หมายถึง สวดมนต์ สมาธิ สนทนาธรรม อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์-วิถีพุทธ และนาฬิ กาชีวิต-วิถีพุทธ (2) แบบประเมินภาวะสุขภาพ (3) สมุดคู่มือการรายงานตนเองในการปฏิบัติตนตามรูปแบบ (4) แบบวัด ความรู้ (5) แบบวัดความสุข (6) แบบประเมินความพึงพอใจของการปฏิบัติตามรูปแบบ และ (7) แนวทางการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อประเมินผลรูปแบบ เครื่องมือทุกชนิดตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ได้ค่า CVI>0.5 และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบวัด ความรู้ด้วย KR 20 ได้ 0.8 แบบวัดความสุขและแบบประเมินความพึงพอใจ ด้วยสัมประสิทธิ์ แอลฟ่ า ของครอนบาค ได้ 0.85 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test, Independent t-test และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสร้างเสริมสุข ภาพดีวิถีพุทธเพื่อป้ องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ (1) โปรแกรม 3ส.3อ.1น. (2) การรายงานตนเองในการปฏิบัติตนตามโปรแกรม และ (3) การติดตามสนับสนุน ส่งเสริม และเสริมพลังโดยทีมสุขภาพ ด้านประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า รูปแบบทีพัฒนาขึ้นนี้ส่งผลให้ผู้ป่ วย ่ โรคเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูงทีไม่สามารถควบคุมได้ กลุ่มที ่ ใช้รูปแบบมีภาวะสุขภาพ ได้แก่ ค่าน้ำหนัก รอบเอว ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต และค่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และมีความรู้ ความสุขเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) มีความพึงพอใจในรูปแบบระดับมากทีสุด ผลการเปรียบเทียบ ่ ระหว่างกลุ่มพบว่า กลุ่มทีใช้รูปแบบ มีค่าน้ำหนัก รอบเอว ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต และระดับน้ำตาล ในเลือด น้อยกว่ากลุ่มทีไม่ใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จึงควรขยายผลรูปแบบไปใช้ ในพื้นที่อื่นๆ และในกลุ่มผู้ป่ วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้