ย่านยาวโมเดล: โมเดลระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลาย เพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน ระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

ผู้แต่ง

  • ประยุทธ สีตุกา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านย่านยาว อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • พิชิตชัย นำนาผล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านย่านยาว อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ชุมพร ผลประเสริฐ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • จรวย สุวรรณบำรุง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

ระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำ, โรคไข้เลือดออก, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้ าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายและพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาโรคไข้- เลือดออกอย่างยั่งยืนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านย่านยาว อำเภอลานสกา จังหวัด- นครศรีธรรมราช โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน แบ่งเป็น 5 ขั้นตอนได้แก่ (1) เตรียมความ พร้อม (2) ประเมินสถานการณ์ (3) วางแผนและพัฒนารูปแบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลาย (4) ดำเนินการ และ (5) ประเมินผล เครื่องมือประเมินความรู้โรคไข้เลือดออกและความเข้าใจดัชนีลูกน้ำยุงลายมีความตรงด้านเนื้อหา 0.86 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลผลการพัฒนารูปแบบด้วยการสรุปแผนภูมิ เปรียบเทียบความรู้และความเข้าใจ ดัชนีก่อนหลังด้วยสถิติ Chi-square test เปรียบเทียบค่าดัชนีลูกน้ำก่อนและหลังการดำเนินการและอัตราการป่วย ด้วยกราฟ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบ “ย่านยาวโมเดล: ระบบเฝ้ าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุข ภาพตำบล ประกอบด้วย 4 ส่วนได้แก่ (1) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รับผิดชอบรวบรวมข้อมูล 10-15 ครัวเรือนด้วย “สมุดสีม่วง” “สมุดสีฟ้ า” และ“สมุดสีเหลือง” (2) ศูนย์เฝ้ าระวังฯ ประมวลข้อมูลดัชนีลูกน้ำ ยุงลายด้วยโปรแกรม http://lim.wu.ac.th (3) ผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ใช้ข้อมูลจากการเฝ้ าระวัง และ (4) แกนนำ 6 หมู่บ้านดำเนินกิจกรรมตามบริบท พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้และเข้าใจดัชนีลูกน้ำยุงลาย เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายและอัตราการป่ วยลดลง โดยสรุป “ย่านยาวโมเดล” เป็นระบบที่ดี มีความสะดวกและง่ายต่อการปฏิบัติ และประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ซึ่งมี 4 องค์ประกอบที่ สำคัญคือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดย อสม. กระตุ้นเตือนเจ้าบ้านเกิดการมีส่วนร่วม ส่งไปยังกลุ่มศูนย์เฝ้ าระวัง การรวบรวม วิเคราะห์ แปลผล รายงาน ให้กับกลุ่มผู้ใช้ข้อมูล ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน กระตุ้นเตือน ให้กลุ่มปฏิบัติการแก้ปัญหาตามบริบทหมู่บ้าน ดังนั้น การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ เกิดความตื่นตัวของชุมชนทั้งการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ การพัฒนาความรู้ไข้เลือดออก และดัชนีลูกน้ำยุงลาย และการสื่อสารข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ