การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมและดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โรงพยาบาลขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศิราณี คำอู ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลขอนแก่น
  • กาญจนา วิเชียร ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลผู้ป่วย, การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด, การเตรียมความพร้อม, การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง

บทคัดย่อ

การผ่าตัดหัวใจแบบเปิดเป็นการรักษาที่มีความซับซ้อนและความเสี่ยงสูง จากการทบทวนข้อมูลการดูแลผู้ป่ วย ปี 2558 พบอุบัติการณ์ ผู้ป่ วยเสียชีวิตขณะรอผ่าตัดร้อยละ 6.95 อัตราการเลื่อนผ่าตัดจากเตรียมผู้ป่วยไม่พร้อม ร้อยละ 17.83 อัตราการกลับเข้ารักษาซ้ำหลังจำหน่ายร้อยละ 17.06 ระยะวันนอนรักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ย 18 วัน สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากพยาธิสภาพของโรคและยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ในการเตรียมความพร้อมและดูแล ต่อเนื่อง บุคลากรที่เกี่ยวข้องไม่มั่นใจในการดูแลต่อเนื่อง ผู้ป่ วยและครอบครัวมีความวิตกกังวลเรื่องการผ่าตัด กลัว การผ่าตัด ปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องทั้งก่อนและหลังผ่าตัด การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา รูปแบบการเตรียมความพร้อมและดูแลต่อเนื่องผู้ป่ วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดโรงพยาบาลขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง 18 คน กลุ่มผู้ป่ วย 111 ราย พัฒนาโดยใช้กระบวนการ PAOR ตามแนวคิดของ Kemmis S และ McTaggart R ประกอบด้วย ขั้นวางแผน (Plan) วิเคราะห์สถานการณ์โดยทบทวนเวชระเบียน สัมภาษณ์ผู้ป่วยและครอบครัว ระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในโรงพยาบาลเครือข่าย ขั้นลงมือปฏิบัติ (Action) ได้แก่ (1) จัดทำแนวทางการเตรียมความพร้อมและดูแลต่อเนื่อง (2) จัดทำคู่มือ สื่อการสอน แนวทางการรับ ปรึกษา (3) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ขั้นสังเกตการณ์ (Observe) นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นใช้ กับผู้ป่ วยที่นัดมาผ่าตัดหัวใจในปี 2559 ติดตามการปฏิบัติตามแนวทางที่พัฒนาขึ้น ขั้นสะท้อนผล (Reflection) ประเมินผลลัพธ์การดูแล วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคจากการปฏิบัติ ปรับปรุงแผนการพัฒนา เครื่องมือทีใช้ในการศึกษา ่ ประกอบด้วย แนวทางการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกตัวชี้วัดผลลัพธ์การดูแล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิง คุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการพัฒนาพบว่า (1) ได้รูปแบบการเตรียมความพร้อมและดูแลต่อเนื่องผู้ป่ วย ผ่าตัดหัวใจแบบเปิดโดยมีพยาบาลเป็นผู้จัดการรายกรณีเป็นผู้ทำหน้าที่เตรียมความพร้อมผู้ป่ วยก่อนการผ่าตัด ร่วม วางแผนการผ่าตัด วางแผนจำหน่าย ติดตามเยี่ยมและให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ประสานการดูแลต่อเนื่องร่วมกับ โรงพยาบาลเครือข่าย (2) ผลลัพธ์การใช้รูปแบบ พบว่า ร้อยละของผู้ป่ วยปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัดได้ถูกต้องเพิ่มขึ้นจาก 80.62 เป็น 92.79 อัตราการเลื่อนผ่าตัดจากเตรียมผู้ป่ วยไม่พร้อมลดลงจากร้อยละ 17.83 เป็น 2.62 อัตราการ เสียชีวิตขณะรอผ่าตัดลดลงจากร้อยละ 6.95 เป็น 1.79 อัตราการกลับเข้ารักษาซ้ำหลังจำหน่ายภายใน 28 วัน ลดลง จากร้อยละ 17.06 เป็น 6.30 ระยะวันนอนรักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ย ลดลงจาก 18 วันเป็น 13 วัน ให้คำปรึกษาทาง โทรศัพท์เฉลี่ยวันละ 7 ราย ประสานงานปรับยาร่วมกับโรงพยาบาลเครือข่ายเฉลี่ยสัปดาห์ละ 9 ราย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ