สภาพปัญหาการได้ยินในผู้ประกอบการขับเรือยนต์หางยาว ในจังหวัดกระบี่

ผู้แต่ง

  • สุรัตน์ ตันติทวีวรกุล โรงพยาบาลกระบี่
  • จริยา ฮ่อบุตร โรงพยาบาลกระบี่
  • โสภา วังบุญคง โรงพยาบาลกระบี่

บทคัดย่อ

                   จังหวัดกระบี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญของประเทศ จึงมีผู้ประกอบอาชีพบริการนำเที่ยวทาง ทะเลโดยใช้เรือยนต์หางยาวเป็นพาหนะจำนวนมาก เครื่องยนต์ของเรือหางยาวมีเสียงค่อนข้างดังและอาจทำให้ผู้ที่ขับเรือมีปัญหาสูญเสียการได้ยินจากเสียงดังได้ (noise-induced hearing loss, NIHL) เนื่องจากปัญหานี้จะกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว จึงศึกษาสภาพปัญหา เพื่อหาแนวทางวางแผนแก้ไขและป้องกันต่อไป โดยการศึกษาแบบตัดขวาง-สัมภาษณ์ และตรวจระดับการได้ยินเสียงกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๑๐๑ ราย ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงมิถุนายน ๒๕๔๘ ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล

                                พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีปัญหาประสาทหูเสื่อมจากเสียงดัง จำนวน ๑๖ ราย (ร้อยละ ๔๕.๕) จำแนก เป็นเสื่อมทั้งสองข้าง ๒๒ ราย ขวาข้างเดียว ๙ ราย และซ้ายข้างเดียว ๑๕ ราย แต่จากการสอบถามส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๙๑.๑) บอกว่าการได้ยินเป็นปกติดี อายุเฉลี่ยกลุ่มหูเสื่อม ๓๙.๓ ± ๑๒.๔๙ ปี ส่วนกลุ่มหูไม่เสื่อม ๓๓ ± ๙.๑๙ ปี ระยะเวลาของการขับเรือเฉลี่ย ๙.๑ ± ๖.๓๗ ปี กลุ่มหูเสื่อมเฉลี่ย ๙.๙ ± ๖.๒๘ ปี กลุ่มหูไม่เสื่อมเฉลี่ย ๘.๕ ± ๖.๔๓ ปี และส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๗ ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ใด ๆ ป้องกันเสียงดัง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-13

วิธีการอ้างอิง