สภาวะสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ของแรงงานพม่าอพยพในกลุ่มการผลิตยางพาราในจังหวัดพังงา
บทคัดย่อ
การศึกษาภาคตัดขวางครั้งนี้ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม ๒๕๔๗ เพื่อวิเคราะห์สถานะ สุขภาพของแรงงานพม่าอพยพในกลุ่มการผลิตยางพาราของจังหวัดพังงา โดยใช้แบบสำรวจสุขภาพที่แปล เป็นภาษาพม่า เก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การเจ็บป่วยของแรงงานพม่าอพยพจากสถานบริการ สาธารณสุขในเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจงจำนวน ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มปลูก และผลิตน้ำยางพารา (พื้นที่ศึกษา A) จำนวน ๓๖๓ คน และกลุ่มแปรรูปไม้ยางพารา (พื้นที่ศึกษา B) จำนวน ๑๑๔ คน ร่วมกับใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากระเบียนรายงานผู้ป่วย ความรุนแรงทั้งสามระดับ (ไม่รุนแรง ปานกลาง และรุนแรง) ของสภาวะสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ทั้งหมด ๖๘ อาการที่มีการรายงานด้วยตนเองในช่วง ๑ เดือนที่ผ่านมาของกลุ่มตัวอย่าง นำมาวิเคราะห์ค่าบ่งชี้สุขภาวะเชิงลบ (AES) โดยคำนวณจากจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ปรากฏอาการ หารด้วยจำนวนของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ปรากฏอาการ
ผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนที่แตกต่างกันของกลุ่มที่ปรากฏอาการและไม่ปรากฏอาการในพื้นที่ A และ B มี ๑๔ อาการ ในกลุ่มอายุน้อยกว่า ๓๐ ปี และตั้งแต่ ๓๐ ปีขึ้นไปมี ๑๕ อาการ ในเพศชายและหญิงมี ๑๙ อาการ จากอาการที่พบบ่อย ๑๖ อาการมีค่า AEStotal yes ≥ ๐.๕ มี ๔ อาการมีค่า AEStotal yes ≥ ๑.๐ ซึ่งได้แก่ ปวดหลังส่วนล่าง ปวดหัว ปวดเมื่อยตามลำตัว และอ่อนเพลีย เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศ พบว่า ค่าบ่งชี้สุขภาวะเชิงลบ AEStotal yes, AESmild, และ AESmoderate ไม่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่ค่าเฉลี่ย AESsevere ในกลุ่มเพศหญิงมากกว่าใน เพศชาย
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการติดตามประเมินสภาวะสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์หรือการดูแลสุขภาพโดยทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพในกลุ่มชาวพม่าอพยพมีความสำคัญสำหรับการใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคมาตรการทางสังคมและกฎหมาย โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีภูมิหลังของการเกิดสภาวะสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.