ความเป็นธรรมการใช้บริการสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยของผู้สูงอายุภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค)

ผู้แต่ง

  • สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย

คำสำคัญ:

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, ผู้สูงอายุ, ความเป็นธรรมในการใช้บริการสุขภาพ

บทคัดย่อ

                        แม้รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขจัดโครงการสวัสดิการรักษาพยาบาลแก่ผู้สูงอายุตั้งแต่ พ.ศ. 2535 แต่จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2544 พบว่าเกือบร้อยละ 20 ของผู้สูงอายุยังขาด การประกันสุขภาพ ในปีเดียวกันนั้นรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าภายหลังการเลือกตั้ง โดยมุ่งให้ครอบคลุมประชาชนทุกคน โครงการดังกล่าวดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณเป็นหลัก และปฏิรูปรูปแบบการจัดสรรงบประมาณและการจ่ายเงินให้กับสถานพยาบาล และพัฒนาระบบบริการโดยให้ความสำคัญและสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบบริการปฐมภูมิ

                        การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเป็นธรรมในการใช้บริการสุขภาพของผู้สูงอายุภายใต้หลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยอาศัยกรอบแนวคิดของ Andersen Behavior Model ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์มาจากการสำรวจครัวเรือนโดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามในจังหวัดยากจนแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายหลังดำเนินโครงการครบหนึ่งปีระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม พ.ศ. 2545 สุ่มเลือกตัวอย่างแบบกลุ่มสองขั้นตอน (2-stage cluster sampling) ประชากรที่ศึกษาคือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและถือบัตรทองโดยไม่มีหลักประกันสุขภาพอื่นจำนวน 965 คน

                        ผลการศึกษาพบว่า การใช้บริการผู้ป่วยนอกในกลุ่มผู้สูงอายุมีความเป็นธรรมโดยขึ้นกับปัจจัยด้านสุขภาพเป็นหลัก และสถานบริการปฐมภูมิมีบทบาทสำคัญต่อสัมฤทธิ์ผลนี้ อย่างไรก็ดีคุณภาพบริการของสถานบริการปฐมภูมิเป็นประเด็นที่ควรให้ความสำคัญและต้องศึกษาต่อไป ส่วนการใช้บริการผู้ป่วยในนั้นพบว่าโอกาสในการใช้บริการก็ขึ้นกับปัจจัยด้านสุขภาพเป็นหลัก แต่ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและสะดวกใน การไปรับบริการที่โรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนมีความถี่ในการใช้บริการผู้ป่วยในมากกว่าผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตชนบทและผู้ที่รายงานว่าไม่สะดวกในการไปรับบริการที่โรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียน ปัญหาการเข้าถึงบริการด้านกายภาพ (physical access) จึงยังคงเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-13

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้