การพัฒนาแนวทางส่งเสริมการเข้าถึงยากลุ่มโอปิออยด์ (opioids) แบบสหวิชาชีพที่บ้านสำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย, ยากลุ่ม opioids ที่บ้าน, แนวทาง, สหวิชาชีพ, การเข้าถึงยาบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางส่งเสริมการใช้ยากลุ่ม opioids ที่บ้าน ในผู้ป่ วยระยะสุดท้าย และ เพื่อประเมินผลลัพธ์จากแนวทางส่งเสริมดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มที่ร่วมพัฒนารูปแบบการเข้าถึงยากลุ่ม opioids ที่บ้าน คือ ผู้ป่ วยมะเร็ง 10 คน อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน 10 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 10 คน ผู้นำชุมชน 10 คน แพทย์ พยาบาล เภสัชกรงานบริการปฐมภูมิและ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 30 คน รวมทั้งหมด 80 คน (2) กลุ่มผู้ป่ วยระยะสุดท้ายในชุมชน 31 คน และญาติผู้ดูแล 31 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับการเข้าถึงยากลุ่ม opioids และแบบประเมินผลในผู้ป่ วยและครอบครัว ได้แก่ ปัญหาการใช้ยา ความพึงพอใจวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางส่งเสริมการเข้าถึงยากลุ่ม opioids บ้าน ใน การดูแลผู้ป่ วยระยะสุดท้าย อำเภอยางสีสุราช ประกอบด้วย (1) การเตรียมบุคลากรในการใช้ยา opioids โดยอบรม เพิ่มทักษะ ทฤษฏีและปฏิบัติโดยการสอนและ KM (knowledge management) เสริมความรู้ (2) จัดทำคู่มือและสื่อ การใช้ยา opioids (3) จัดทำ CPG (clinical practice guidelines) เกี่ยวกับการใช้ยา opioids (4)จัดทำสื่อการสอน การใช้ยาแบบ online (VTR “คลิปยารักษาใจ”) (5) ควบคุมการบริหารยามอร์ฟี น โดยจัดทำ “กล่องบรรเทา” ร่วม กับสื่อสารระหว่างผู้ป่ วย ญาติผู้ดูแล และเจ้าหน้าที่ (6) ติดตามประเมินผลหลังดำเนินการตามแนวทางทุก สัปดาห์ที่ 1 และ 3 (7) พัฒนาการส่งต่อข้อมูลโดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ ไลน์ (8) ถอดบทเรียน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงแนวทางทุก 1 เดือน (9) พัฒนาระบบให้คำปรึกษา/พี่เลี้ยง โดยทีมสหวิชาชีพ ผ่านไลน์กลุ่ม โทรศัพท์ คนต่อคน ภายใต้เครือข่ายที่เข้มแข็งของ “ทีมปันบุญ” ผลลัพธ์ของการดำเนินการตามแนวทางพบว่า จำนวนปัญหา ด้านการใช้ยาลดลงหลังการพัฒนาแนวทางคือ จาก 1.46 เป็น 0.47 ครั้งต่อผู้ป่ วย 1 ราย ผลประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผู้ป่ วยและครอบครัวพึงพอใจสหวิชาชีพและการเข้าถึงยาเพิ่มขึ้นจาก 3.26 เป็น 4.12 คะแนน (คะแนน เต็ม 5) และความพึงพอใจของบุคลากรต่อการดูแลผู้ป่ วยพบว่ามีค่าเพิ่มขึ้นจาก 3.20 เป็น 4.07 คะแนน การวิจัยนี้ สรุปได้ว่าแนวทางส่งเสริมการเข้าถึงยากลุ่ม opioids เพื่อการดูแลผู้ป่ วยระยะสุดท้ายดำเนินการโดยสหวิชาชีพช่วย ค้นหาปัญหาการใช้ยาและการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมผู้ป่ วย ญาติผู้ดูแลและผู้ให้บริการมีความพึงพอใจในการ เข้าถึงยาเพื่อการดูแลผู้ป่ วยเพิ่มมากขึ้น
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.