ผลการรักษาโดยวิธีตัดขาระดับข้อเท้าในผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มีแผลเรื้อรังที่เท้า กรณีศึกษาโรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ธีระชาติ บุตรคำโชติ กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การตัดขา, ระดับข้อเท้า, โรคเรื้อน

บทคัดย่อ

การตัดขาในระดับข้อเท้า (ankle amputation) เป็นการตัดขาในระดับข้อเท้า ช่วยทำให้ผู้ป่ วยที่จำเป็นต้องได้รับการ รักษาด้วยวิธีนี้สามารถเดินลงน้ำหนักที่ปลายขาได้ โดยที่ขาทั้งสองข้างมีความสั้นยาวต่างกันไม่มากเมื่อเปรียบเทียบ กับการตัดขาในระดับใต้หัวเข่า (below knee amputation) การเดินในระยะทางใกล้ๆ ผู้ป่ วยสามารถเดินได้โดยไม่ จำเป็นต้องใช้ขาเทียม แต่ปัญหาเกี่ยวกับแผล (wound failure, wound infection) ที่พบ ทำให้ศัลยแพทย์ส่วนใหญ่ เลือกที่จะทำการผ่าตัดในระดับใต้หัวเข่า ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีรายงานการตัดขาในระดับข้อเท้าในประเทศไทย การศึกษานี้ได้รายงานผลการรักษาผู้ป่ วยโรคเรื้อนไทย 10 ราย ซึ่งได้รับการตัดขาในระดับข้อเท้าในโรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2556 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 รวมทั้งหมด 7 ปี โดยใช้เทคนิค การผ่าตัดของ Syme’s amputation และ Modified Pirogoff’s amputation เนื่องจากมีแผลเรื้อรังที่เท้ารักษาไม่หาย ติดตามการรักษาเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน หลังผ่าตัดพบว่าแผลหายดี ผู้ป่ วยสามารถเดินลงน้ำหนักและใช้ ขาเทียมได้ สามารถช่วยเหลือตนเองทำกิจวัตรประจำวันได้ดี ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับแผลเรื้อรังทีจะต้องผ่าตัดซ้ำหรือตัดขา ในระดับที่สูงขึ้น จากการศึกษาในผู้ป่ วย 10 รายในครั้งนี้ พอจะสรุปขั้นต้นได้ว่า การตัดขาในระดับข้อเท้าได้ผลดีใน ผู้ป่ วยโรคเรื้อนที่มีแผลเรื้อรังที่เท้ารักษาไม่หาย โดยที่ขาสองข้างสั้นยาวต่างกันไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัด ใต้หัวเข่า

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

วิธีการอ้างอิง