การประเมินเทคโนโลยีความเหมาะสมของเครื่องเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงแบบถ่ายภาพต่อเนื่อง ในการช่วยวินิจฉัยโรคของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ

ผู้แต่ง

  • สุทารัตน์ ตั้งสกุลวัฒนา สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์
  • พงษ์ลดา สุพรรณชาติ สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์
  • ชมพูนุท วิจิตรสงวน สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์
  • ทวีทอง กออนันตกูล สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์
  • บุญจง แซ่จึง สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์
  • สุรภา ไหรัญพิจิตร สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์

คำสำคัญ:

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง แบบถ่ายภาพต่อเนื่อง, ประสิทธิภาพ, โรคหลอดเลือดโคโรนารี

บทคัดย่อ

                   การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่าของการลงทุนและประสิทธิภาพของเครื่องมือชนิดต่าง ๆ ที่ช่วยในการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ โดยเปรียบเทียบข้อบ่งชี้ในการใช้ ข้อเด่นและข้อจํากัด ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดในการวินิจฉัยโรคผู้ป่วย นอกจากนี้ยังคำนวณหาความคุ้มค่าของการลงทุนซึ่งรวมถึงราคาเครื่อง ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่อง ความยากง่ายและความรวดเร็วของโปรแกรมการใช้งาน ความเป็นไปได้ในการยกระดับเครื่องมือในอนาคต ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนสิงหาคม 2548 ถึงกุมภาพันธ์ 2549

                    ในปัจจุบันเครื่อง multislice CT scan รุ่น 64 slice นับเป็นเครื่องมือที่ให้การวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจได้แม่นยำ มีความไว (sensitivity) สูงถึงร้อยละ 94-95 มีความจำเพาะเจาะจง (Specificity) สูงถึงร้อยละ 93-97 และมีความถูกต้องของผลลบ (negative predictive value) สูงถึงร้อยละ 93-99 เมื่อเปรียบเทียบกับ Magnetic Resonance Imaging (MRI) เครื่องนี้มีจุดคุ้มทุนที่ 6.6 ปี และ 8.7 ปีสำหรับ MRI ดังนั้นเครื่อง multislice CT scan รุ่น 64 slice เป็นอย่างน้อย จึงเป็นเครื่องที่สมควรจัดหามให้มีในโรงพยาบาลหรือสถาบันที่จะเป็นศูนย์การตรวจวินิจฉัยรักษาทางด้านโรคหัวใจและทรวงอกอย่างยิ่ง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-13

วิธีการอ้างอิง