โรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม ตอนที่ 3 ลักษณะอาการของโรคและการบริบาลรักษา

ผู้แต่ง

  • ประเสริฐ ทองเจริญ ราชบัณฑิต, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

คำสำคัญ:

โบทูลิซัม, ลักษณะอาการ, การบริบาลรักษา

บทคัดย่อ

                        โบทูลิซัม เป็นโรคที่พบไม่บ่อยนัก แต่เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการอัมพาตอย่างรุนแรง เกิดจากการได้รับสารชีวพิษของแบคทีเรีย คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม เข้าสู่ร่างกายโดยการกินสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหารโดยตรง หรือ กินเชื้อก่อโรคเข้าไปโดยเฉพาะในทารก อาจเข้าทางบาดแผล สูดหายใจ หรือได้รับโดยมีผู้จงใจก่อการร้ายทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นโรคโบทูลิซัมประเภทใด ต้องถือว่าเป็นผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินทั้งสิ้น

                        อาการของโรคมักเกิดขึ้นหลังได้รับสารชีวพิษเข้าไป 18 ถึง 36 ชั่วโมง อาจเกิดอาการเร็วใน 6 ชั่วโมง หรืออาจล่าไปได้ถึง 10 วัน

                        อาการที่สำคัญในผู้ใหญ่ ได้แก่ การเห็นภาพซ้อน ตาพร่ามัวแลเห็นภาพไม่ชัด เสียงแหบแห้ง พูดไม่ชัด กลืนไม่ได้ ปากแห้ง เป็นต้น สำหรับอาการแสดงในผู้ใหญ่ ได้แก่ กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง หนังตาตก กล้ามเนื้อกลอกตาและกล้ามเนื้อหน้าเป็นอัมพาต ตากระตุก รีเฟล็กซ์ในการกลืนลดลง รูม่านตาขยายและนิ่ง เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยทารกจะมีอาการซึม ไม่ดูดน้ำ/ดูดนม ท้องผูก ร้องเสียงแผ่ว ท้องผูก กล้ามเนื้อเหลว

                        การรักษา ในรายที่รุนแรงต้องรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยวิกฤติ ต้องประคับประคองระบบการหายใจ อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ การให้สารต้านชีวพิษแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิต ยาปฏิชีวนะก็จำเป็นในรายที่ติดเชื้อ ในทารกการใช้โบทูลิซัม อิมมูนโกลบุลิน นับว่าให้ผลดี การฟื้นโรคมักค่อยเป็นค่อยไปช้า ๆ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-14

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้