ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า และปาก ของผู้รับผิดชอบงานในโรงเรียนอนุบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
โรคมือ เท้า ปาก, โรงเรียนอนุบาลเอกชน, กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
โรคมือ เท้า และปาก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หรือเด็กก่อนวัยเรียนมีแนวโน้มของอัตรา ป่ วยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย และการเจริญเติบโตของเด็กในระยะยาว ซึ่งโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในกรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก การป้ องกันและควบคุมโรคของผู้ปฏิบัติงานตาม แนวทางการดำเนินงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่อาจส่งผลต่อการแพร่กระจายโรคได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินงานป้ องกันควบคุมโรคมือ เท้า และปากของผู้รับผิดชอบงานในโรงเรียนอนุบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง จากผู้รับผิดชอบงานเฝ้ าระวัง ป้ องกัน ควบคุมโรค มือ เท้า และปาก ในโรงเรียนอนุบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 150 โรงเรียน ๆ ละ 1 คน เก็บข้อมูลจาก แบบสอบถามตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 32.7 เพศหญิง ร้อยละ 82.0 มีตำแหน่งครู ร้อยละ 54.0 การ ดำเนินงานป้ องกันควบคุมโรคมือ เท้า และปากอยู่ในระดับดี ร้อยละ 72.0 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงาน ป้ องกันควบคุมโรคมือ เท้า และปาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับการศึกษา(p=0.038) ประวัติการอบรม (p=0.001) ระดับความรู้ (p=0.001) การได้รับมอบหมายงาน (p=0.001) การได้รับการสนับสนุนความรู้ วัสดุ- อุปกรณ์จากบุคลากรสาธารณสุข (p=0.001) และการให้ผู้ปกครอง/ชุมชน มีส่วนร่วมป้ องกันควบคุมโรค (p=0.001) ซึ่งจากการศึกษา ผู้รับผิดชอบงานในโรงเรียนเอกชนควรได้รับการส่งเสริม ฟื้ นฟูความรู้เรื่อง ข้อมูลข่าวสารที่เป็น ปัจจุบัน มีการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ป้ องกันควบคุมโรค และให้ผู้ปกครองหรือชุมชนมีส่วนร่วมป้ องกัน ควบคุมโรค ในโรงเรียน บูรณาทั้งภาครัฐและเอกชน มีการติดตาม ประเมินผล เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.