กระบวนการจัดตั้งชุมชนรักษ์ไตแบบมีส่วนร่วม จังหวัดมหาสารคาม ปี 2560 - 2561

ผู้แต่ง

  • นิตยา โพกลาง สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม
  • เอมอร สุทธิสา สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม
  • ณัฐวุฒิ มาสาซ้าย โรงพยาบาลกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม
  • ชวมัย ปินะเก โรงพยาบาบมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ชุมชนรักษ์ไต, การชะลอไตเสื่อม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชะลอไตเสื่อม ผลการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมและหารูปแบบในการจัดตั้งชุมชนรักษ์ไต ด้วยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 5 หมู่บ้าน แล้วสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงโดยใช้เกณฑ์ในการคัดเข้า 500 คน ประกอบด้วยผู้นำ ประชาชน และ กลุ่มผู้ป่ วยโรคเรื้อรัง ประยุกต์ใช้เทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วม ในขั้นตอนการวางแผน (Plan) ซึ่งประกอบด้วย (1) การสร้างองค์ความรู้ (A) (2) การสร้างแนวทางการพัฒนา (I) และ (3) ขั้นตอนการสร้างแนวทางปฏิบัติ (C) จากนั้นนำไปสู่การปฏิบัติ (Act) การสังเกตผล (Observer) และสะท้อนผล (Reflect) เก็บข้อมูล 12 เดือน โดยใช้ แบบสอบถาม ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการและการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t- test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าหลังการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตัวอย่างมี พฤติกรรมการมีส่วนร่วม โดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างผู้ป่ วยโรคเรื้อรัง สามารถชะลอไตเสื่อมได้ โดยชะลอจากระยะ 4 มาเป็นระยะที่ 3 จำนวน 13 คน (ร้อยละ 81.2) จากระยะที่ 3 มาเป็นระยะที่ 2 และ 1 จำนวน 38 คน (ร้อยละ 56.7) และเกิดรูปแบบการจัดตั้งชุมชนรักษ์ไต คือ (1) จัดตั้งคณะกรรมการพร้อมหน้าที (2) จัดทำแผนงานโดยชุมชนร่วมคิดตามบริบทของชุมชน (3) ดำเนินกิจกรรม (4) ประเมินผลโดยคณะกรรมการ การประยุกต์การมีส่วนร่วมมาใช้ในการจัดตั้งชุมชนรักษ์ไตทำให้ชุมชนได้ร่วมรับ รู้ปัญหา หาแนวทางแก้ไข และดำเนินการด้วยความสมัครใจเกิดการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและต่อเนื่อง จึง ควรนำรูปแบบดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆ ที่มีบริบทใกล้เคียงกันต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ