การพัฒนารูปแบบการจัดการวัณโรค โรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, รูปแบบการจัดการ, วัณโรคบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการวัณโรคโรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว จังหวัด ปทุมธานี โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้บริการ ได้แก่ สหวิชาชีพเครือข่ายโรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว จำนวน 40 คน ภาคี เครือข่าย จำนวน 50 คน และกลุ่มผู้รับบริการ ซึ่งได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล (1) แบบวัดพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยวัณโรค (2) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่ วย วัณโรค (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิง เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ใช้สถิติ t-test (p<0.05) ผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์การดำเนินงานการดำเนินงานการจัดการ ระบบการดูแลผู้ป่ วยวัณโรคเครือข่ายโรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว ก่อนการพัฒนา พบว่า ทีมสหวิชาชีพเครือข่ายโรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว มีองค์ความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่ วยทีแตกต่างกัน ่ ผู้ป่ วยวัณโรคเสียชีวิตระหว่างการรักษาสูง การขาดนัดรับยาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการติดตามประเมินผลการรักษา และไม่มีรูปแบบการจัดการวัณโรคที่ชัดเจน สำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการวัณโรคโรงพยาบาลลาดหลุมแก้วที่พัฒนาขึ้นมีการพัฒนาแนวทางการจัดการ วัณโรคอย่างเป็นระบบมีระบบ การติดตามประเมินผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เกิดรูปแบบในการจัดการวัณโรค โรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี 3CS Model ด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) การจัดการด้านตัวผู้ป่ วย (client) เกิดนวัตกรรม ได้แก่ สื่อการสอนโรควัณโรค 5 รู้เอาอยู่ ยา delivery และปฏิทินเตือนใจ ใส่ใจการกินยา (2) การจัดการทีมดูแลรักษา (care team) (3) การจัดการด้านชุมชน (community) เกิดนวัตกรรม 5 เครือข่ายวัณโรค และ (4) การจัดการด้านระบบ (system) เกิดนวัตกรรม 1-2-2 model พฤติกรรมการปฏิบัติตัวตามแผนการรักษา วัณโรคของผู้ป่ วยวัณโรคหลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=2.215, p<0.05) ความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่ วยวัณโรคของสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.