ผลของการประเมินและเตรียมความพร้อมผู้ป่วยที่คลินิกวิสัญญีต่อการประเมินและเตรียมความพร้อมก่อนให้ยาระงับความรู้สึกอย่างน้อย 1 วันก่อนผ่าตัดและการงดเลื่อนผ่าตัดในผู้ป่วยแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ผู้แต่ง

  • ยุพิน บุญปถัมภ์ กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี แผนกวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • จงกลนี ดาววิจิตร กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี แผนกวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • อรุณีย์ ไชยชมภู กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี แผนกวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

คำสำคัญ:

คลินิกวิสัญญี, การประเมินและเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนให้ยาระงับความรู้สึก, การงดเลื่อนผ่าตัด

บทคัดย่อ

การประเมินและเตรียมความพร้อมผู้ป่ วยก่อนให้ยาระงับความรู้สึกอย่างน้อย 1 วันก่อนผ่าตัดเป็นการประเมิน ความเสี่ยงในการระงับความรู้สึกและการวางแผนในการแก้ไขปัญหาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่ วยทั้งระยะ ก่อน ระหว่าง และหลังระงับความรู้สึก เพื่อศึกษาผลของการประเมินและเตรียมความพร้อมผู้ป่ วยก่อนให้ยาระงับ ความรู้สึกที่คลินิกวิสัญญีต่อการประเมินและเตรียมความพร้อมผู้ป่ วยก่อนให้ยาระงับความรู้สึกอย่างน้อย 1 วันก่อน ผ่าตัดและการงดเลื่อนผ่าตัด ในผู้ป่ วยแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จึงทำการศึกษาเชิง efficacy research รูปแบบ historical control แบ่งผู้ป่ วยที่ได้รับการประเมินและเตรียมความพร้อมก่อนให้ยาระงับ ความรู้สึกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ทำตามมาตรฐานเดิม จำนวน 2,973 ราย กลุ่มที่ 2 ช่วงพัฒนาคลินิกวิสัญญี (มาตรฐานเดิม+คลินิกวิสัญญี) 1,141 ราย และกลุ่มที่ 3 คลินิกวิสัญญีจำนวน 1,298 ราย โดยเก็บรวบรวมข้อมูล ย้อนหลังในกลุ่มที่ 1 เดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2559 และมกราคม-เมษายน 2560 กลุ่มที่ 2 พฤษภาคม-ตุลาคม 2560 กลุ่มที่ 3 เก็บข้อมูลย้อนหลังช่วงพฤศจิกายน-ธันวาคม 2560 และเก็บไปข้างหน้าช่วงมกราคม-เมษายน 2561 รวบรวมข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการงดเลื่อนผ่าตัดเนื่องจากเตรียมผู้ป่ วยไม่พร้อม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ t-test, exact probability test และ logistic regression พบว่าผู้ป่ วยทั้งสามกลุ่มมีความแตกต่างกันในเรื่อง เพศ อายุ ASA class โรคประจำตัว และการปรึกษาต่างแผนก และทั้ง 3 กลุ่มได้รับการประเมินและเตรียมความ พร้อมก่อนให้ยาระงับความรู้สึกอย่างน้อย 1 วันก่อนผ่าตัดร้อยละ 72.2, 99.6 และ 100.0 ตามลำดับ และพบการ งดผ่าตัดร้อยละ 0.2, 2.4 และ 1.2 ตามลำดับ เมื่อปรับความแตกต่างของเพศ อายุ ASA class โรคประจำตัว และ การปรึกษาต่างแผนก พบว่ากลุ่มที่ 2 และ 3 มีการประเมินและเตรียมความพร้อมผู้ป่ วยก่อนให้ยาระงับความรู้สึก อย่างน้อย 1 วันก่อนผ่าตัดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.30 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ 1 และพบการเพิ่มขึ้นของการงดเลื่อนผ่าตัด ร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ 1 เช่นกัน ซึ่งอาจเป็นเพราะกลุ่มที่ 1 ยังไม่มีระบบการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่งดเลื่อน ผ่าตัดที่ดี แต่พบแนวโน้มการงดเลื่อนผ่าตัดในกลุ่มที่ 3 ลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ 2 ดังนั้นหากไม่มีปัญหาเรื่องการจัดอัตรากำลัง ควรจัดให้มีการประเมินและเตรียมความพร้อมผู้ป่ วยก่อนระงับความรู้สึกที่คลินิกวิสัญญี และขยาย การบริการไปยังแผนกอื่นๆ ต่อไป เพื่อจะได้ประเมินและเตรียมความพร้อมผู้ป่วยได้มากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ