ผลการใช้รูปแบบ PMMR-Health Model เพื่อลดปัญหามารดาตาย เขตสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • มลุลี แสนใจ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
  • วิภาวดี พิพัฒน์กุล ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับมารดาตาย พัฒนารูปแบบและศึกษาผลการใช้รูปแบบ PMMR-Health Model เพื่อลดปัญหามารดาตายเขตสุขภาพที่ 10 ดำเนินการศึกษาระหว่างตุลาคม 2559 – มีนาคม 2562 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญและผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบสวนมารดาตาย แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหามารดาตาย ได้แก่ นโยบายขาดความชัดเจน บุคลากรขาดทักษะ การจัดการความเสี่ยงและระบบส่งต่อขาดประสิทธิภาพ ผู้รับบริการขาดความตระหนัก ฝากครรภ์ช้า ฝากครรภ์ไม่ครบ ตั้งครรภ์อายุน้อย สำหรับรูปแบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อลดปัญหามารดาตาย คือ PMMR-Health Model ซึ่งมี 5 องค์ประกอบด้วย (1) P: policy นโยบายและการขับเคลื่อนนโยบาย (2) M: man กำหนดและประเมินสมรรถนะ (3) M: material อุปกรณ์/ยาและเลือดพร้อมใช้ (4) R: Risk management คัดกรองและจัดการเสี่ยง (5) Health: health communication สื่อสารความรู้และความเสี่ยงที่จำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว ส่วนผลของการใช้รูปแบบฯ เพื่อลดปัญหามารดาตายในพื้นที่ทดลอง 2 จังหวัดในเชิงลัพธ์ พบว่า อัตราส่วนมารดาตายมีแนวโน้มลดลง โดยจังหวัดที่ 1 ยังคงไม่มีมารดาตาย ส่วนจังหวัดที่ 2 อัตราส่วนมารดาตายลดลงจาก 17.9: 100,000 การเกิดมีชีพ เป็น 10.3: 100,000 การเกิดมีชีพ รูปแบบ PMMR-Health Model มีความสอดคล้องกับข้อเสนอและมาตรการลดปัญหามารดาเสียชีวิตของระดับประเทศ ทั้งนี้แนวทางของ PMMR-Health model มีมาตรการที่ครอบคลุมในทุกประเด็น ทำให้ผู้ปฏิบัติมั่นใจในการดูแลหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาลชุมชนที่ไม่มีสูติแพทย์ อย่างไรก็ตาม ควรมีการวิจัยประเมินผลในระยะยาวเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นๆ เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมกับโรงพยาบาลที่มีบริบทแตกต่างกันทั้งในสังกัดของรัฐและเอกชน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-06

วิธีการอ้างอิง