พัฒนาการถ่ายภาพรังสีผู้ป่วยติดเตียงผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ป่วยสูงอายุ โดยใช้ชุดนั่งถ่ายภาพเอกซเรย์ปรับระดับได้

ผู้แต่ง

  • กัญรัสมิ์ สำราญ กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์
  • กาญจณ์ฉัตตร์ กุลเพชรจารุกร กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การถ่ายภาพรังสี upright abdomen, การถ่ายภาพรังสี chest upright, ผู้ป่วยติดเตียง, ชุดนั่งถ่ายภาพเอกซเรย์ปรับระดับได้

บทคัดย่อ

โรงพยาบาลหนองกี่ มีผู้ป่ วยมารับบริการการถ่ายภาพรังสีทรวงอกและช่วงท้องในปี 2562 จำนวน 856 ราย ซึ่งวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการถ่ายภาพรังสีในท่านั่ง/ยืนในส่วนของทรวงอกและช่วงท้อง มีความสำคัญมากในการ วินิจฉัยโรคของแพทย์ ในด้านพยาธิสภาพของปอดและระบบทางเดินอาหาร ถ้าหากเจ้าหน้าที่รังสีไม่สามารถถ่าย ภาพรังสีได้ตามที่แพทย์ต้องการส่งผลให้การรักษาล่าช้า กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่ วยที่มารับบริการเอกซเรย์ ที่กลุ่มงาน รังสีวิทยา จำนวน 10,174 ราย มี 722 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.1 ระหว่างเดือนธันวาคม 2561 ถึงพฤศจิกายน 2562 เป็นกลุ่มผู้ป่ วยติดเตียง ผู้ป่ วยระยะสุดท้าย และผู้สูงอายุ ซึ่งไม่สามารถนั่งหรือยืนได้ ทำให้การถ่ายภาพรังสีในท่านั่ง/ ยืน (upright) ไม่สามารถทำได้เลย เนื่องจากขาดเครื่องมืออุปกรณ์และเจ้าหน้าที่หรือญาติช่วยพยุงตัวผู้ป่ วยและจับ แผ่น plate (แผ่นรองรับภาพรังสี) โดยเฉพาะนอกเวลาราชการมีเจ้าที่ปฏิบัติงานเพียง 1 คน การยกผู้ป่ วยที่มีน้ำหนัก มากทำให้มีปัญหาด้านสุขภาพ การจัดท่าผู้ป่ วยต้องใช้เวลานาน บางรายต้องถ่ายภาพรังสีซ้ำเนื่องจากภาพรังสีที่ได้ไม่ ครอบคลุมอวัยวะที่ต้องการดู ดังนั้น จึงได้ประดิษฐ์นวัตกรรมชุดนั่งถ่ายภาพเอกซเรย์ปรับระดับได้ ทำให้ไม่ต้องใช้ เจ้าหน้าที่หรือญาติจับผู้ป่ วยและแผ่น plate ขั้นตอนการจัดท่าและทำการถ่ายภาพรังสีใช้ระยะเวลา 3 นาที สอดเครื่อง มืออุปกรณ์ชุดนั่งถ่ายภาพเอกซเรย์ปรับระดับได้ใต้ลำตัวผู้ป่ วย ปรับระดับได้ 45, 60, 90 และ 180 องศา ตามที่ ต้องการ ใส่แผ่น plate ในตะแกรงด้านหลังผู้ป่ วย ทำการถ่ายภาพรังสีในท่านั่งของช่วงท้อง (abdomen) และทรวงอก (chest) การทดสอบประสิทธิภาพ โดยทำการเอกซเรย์ อ่านวัดผลจากภาพรังสี ผลรังสีสามารถทะลุผ่านได้ ไม่บัง อวัยวะที่ต้องการดู การรับน้ำหนักให้เจ้าหน้าที่ที่มีน้ำหนัก 80-130 กิโลกรัม จำนวน 10 คน ทดสอบนั่งบนอุปกรณ์ สามารถรับน้ำหนักได้ไม่โยกไม่หักงอ ผลอุปกรณ์ที่ใช้ทำชิ้นงานสามารถรองรับน้ำหนักได้ดีและมีประสิทธิภาพ ทดสอบ การยกย้ายอุปกรณ์โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้หญิงน้ำหนักตั้งแต่ 45-50 กิโลกรัม จำนวน 10 คน ยกชิ้นงานที่มีน้ำหนัก 15 กิโลกรัม สามารถยกย้ายได้สะดวกทุกคนโดยใช้บุคคลคนเดียวยกเท่านั้น การนำไปใช้ ให้บริการถ่ายภาพรังสีผู้ป่ วย จำนวน 722 ราย ได้ภาพรังสีที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ ร้อยละ 100 แพทย์ ผู้ป่ วย และเจ้าหน้าที่ มีความพึงพอใจ ร้อยละ 100 อัตราการถ่ายภาพรังสีซ้ำเป็น 0 ระยะเวลาในการให้บริการ 3 นาที ผู้ป่วยหกล้มหรือเป็นลมขณะ ถ่ายภาพเอกซเรย์เป็น 0

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ