การสร้างเครือข่ายผู้บริจาคโลหิตและการติดตาม เพื่อให้มีโลหิตเพียงพอในพื้นที่ชายแดนที่ห่างไกล อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กรีพล สุตาวงษ์ งานธนาคารเลือด กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ผู้บริจาคโลหิต, การสร้างเครือข่ายผู้บริจาคโลหิต, บริการโลหิต

บทคัดย่อ

การขาดแคลนโลหิตยังคงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ที่ต้องหามาตรการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะ โรงพยาบาลชุมชนชายแดนที่ห่างไกล จำเป็นต้องมีโลหิตสำรองไว้ใช้อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง การได้รับโลหิตจาก การเบิกที่ภาคบริการโลหิตเพียงอย่างเดียวนั้น จะทำให้ได้โลหิตจำนวนจำกัดหรือไม่ได้เลยทำให้ไม่มีโลหิตเพียงพอต่อ การบริการผู้ป่ วย การเปิ ดรับบริจาคโลหิตจึงมีความสำคัญมาก โลหิตที่ได้จะต้องมาจากการบริจาคโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนเท่านั้น การหาแนวทางและรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้มีการบริจาคโลหิตจึงเป็นสิ่งจำเป็น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีปริมาณโลหิตเพียงพอต่อความต้องการใช้ของผู้รับบริการ อีกทั้งเพื่อสร้างเครือข่ายผู้บริจาคโลหิตและการติดตามผู้บริจาคโลหิตในชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน จากการเก็บข้อมูลย้อนหลัง ในทะเบียนผู้บริจาคโลหิต งานธนาคารเลือด กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลบุณฑริก ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 – ธันวาคม พ.ศ.2562 มีผู้บริจาคโลหิตทั้งหมด 350 ราย ในช่วง 3 เดือนแรกของการวิจัย มีผู้บริจาค โลหิตจำนวนน้อยเฉลี่ยเดือนละ 6 ราย ซึ่งมีโลหิตไม่เพียงพอต่อการให้บริการ จึงมีการส่งเสริมและกระตุ้นให้มีการ บริจาคโลหิตในรูปแบบต่างๆ หลังจากนั้นพบว่าการสร้างผู้นำจิตอาสาสามารถหาผู้บริจาคโลหิตได้ คิดเป็นร้อยละ 26.83 การหาผู้บริจาคโลหิตเชิงรุกในกลุ่มเยาวชนมีผู้บริจาคโลหิตคิดเป็นร้อยละ 10.85 และการติดตามผู้บริจาค โลหิตโดยการส่งข้อความหรือการใช้โทรศัพท์มีผู้บริจาคโลหิตคิดเป็นร้อยละ 18.57 จะเห็นว่าจากแนวทางทั้งหมดที่ กล่าวมาทำให้มีผู้บริจาคโลหิตรวมกันได้ร้อยละ 56.25 หรือมีผู้บริจาคโลหิตประมาณ 197 รายส่วนที่เหลือจะเป็นผู้ บริจาคโลหิตที่มาบริจาคเอง ซึ่งพบว่าสามารถหาโลหิตได้เกินครึ่งของจำนวนโลหิตที่ใช้ไป หลังจากนำระบบเครือข่าย ผู้บริจาคโลหิตและการติดตามมาปฏิบัติ ทำให้มีโลหิตเพียงพอและสามารถเก็บสำรองโลหิตไว้ใช้ได้อย่างพอเพียง อุบัติการณ์ความเสี่ยงจากการเบิกโลหิตแล้วไม่มีจ่ายเป็นศูนย์ และยังสามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเบิกโลหิต ลงได้ด้วย นอกจากนี้ถ้ามีการสนับสนุนให้มีการเปิ ดรับบริจาคโลหิตเองในโรงพยาบาลทุกแห่ง ปัญหาการขาดแคลน โลหิตก็จะเบาบางลงหรือหมดไปได้ โดยจะต้องมีการสร้างเครือข่ายและการติดตามผู้บริจาคโลหิตที่เข้มแข็ง ก็จะทำให้ มีปริมาณโลหิตเพียงพอใช้อย่างยั่งยืนตลอดไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ