การพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมการทำงานตามค่านิยมร่วม กระทรวงสาธารณสุขของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า

ผู้แต่ง

  • มยุรี เที่ยงสกุล โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม
  • มณี คูประสิทธิ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

ตัวบ่งชี, ค่านิยมร่วม, เป็ นนายตนเอง, เร่งสร้างสิ่งใหม, ใส่ใจประชาชน, อ่อนน้อมถ่อมตน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมการทำงานตามค่านิยมร่วม กระทรวงสาธารณสุข และศึกษาพฤติกรรมการทำงานตามตัวบ่งชี้ของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ จำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ประเมินพฤติกรรมการทำงาน ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพหัวหน้าหน่วยงาน จำนวน 21 คน และกลุ่มผู้ถูกประเมินพฤติกรรมการทำงาน ได้แก่ พยาบาล วิชาชีพทีปฏิบัติงานใน 21 หน่วยงาน สังกัดกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จำนวน 156 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนธันวาคม 2561 โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 กำหนดวัตถุประสงค์ คำนิยามขององค์ประกอบค่านิยมร่วมกระทรวงสาธารณสุข และคุณลักษณะตามองค์- ประกอบ ขั้นตอนที่ 2 สร้างตัวบ่งชี้พฤติกรรมการทำงาน ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพตัวบ่งชี้พฤติกรรมการทำงาน ขั้นตอนที่ 4 ประเมินพฤติกรรมการทำงานตามค่านิยมร่วมฯ ของพยาบาลวิชาชีพ และขั้นตอนที่ 5 นำเสนอผลการ ศึกษา เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 2 ชุด คือ เครื่องมือชุดที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านความ เหมาะสมในการนำตัวบ่งชี้พฤติกรรมการทำงานตามค่านิยมร่วมกระทรวงสาธารณสุขไปใช้ เครื่องมือชุดที่ 2 แบบ ประเมินพฤติกรรมการทำงานของพยาบาลวิชาชีพตามตัวบ่งชี้ ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) จากผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยง (reliability) และอำนาจจำแนก (discrimination) การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า ตัวบ่งชี้พฤติกรรมการ ทำงานตามค่านิยมร่วมกระทรวงสาธารณสุขของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 16 คุณลักษณะ 68 ตัวบ่งชี้ โดยพฤติกรรมการทำงานตามตัวบ่งชี้ของพยาบาลวิชาชีพ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=4.45, SD=0.62) ซึ่งพบพฤติกรรมในองค์ประกอบที่ 4 Humility หรือการ อ่อนน้อมถ่อมตนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (Mean=4.53, SD=0.57) รองลงมาองค์ประกอบที่ 3 People-centered approach หรือการใส่ใจประชาชน (Mean=4.51, SD=0.61) องค์ประกอบที่ 1 Mastery หรือการเป็นนายตนเอง (Mean=4.47, SD=0.62) และองค์ประกอบที่ 2 Originality หรือการเร่งสร้างสิ่งใหม่ (Mean=4.47, SD=0.62) ตามลำดับ ซึ่ง ตัวบ่งชี้พฤติกรรมทีพัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการพยาบาล ในลักษณะต่างๆ เช่น เป็น แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะด้านพฤติกรรมจริยธรรมสำหรับพยาบาลวิชาชีพ และการประเมินผลการปฏิบัติงาน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-06

วิธีการอ้างอิง