การศึกษารูปแบบการควบคุมยุงลายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
บทคัดย่อ
ได้ทำการศึกษารูปแบบการควบคุมยุงลายโดยชุมชนมีส่วนร่วมโดยสุ่มเลือก 6 หมู่บ้านในจังหวัดยโสธรพื้นที่ A ดำเนินการควบคุมยุงลายโดยนักเรียนชั้นป.4 - ป.6 พื้นที่ B ดำเนินการควบคุมยุงลายโดยคณะกรรมการศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน โดยเน้นการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายด้วยวิธีการทางกายภาพและการใส่ทรายอะเบท พื้นที่ c เป็นพื้นที่เปรียบเทียบดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขท้องถิ่นตามแผนงานและโครงการปกติ ภายใต้การสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์และการประเมินผลจากสำนักงานควบคุมโรคติดต่อเขต 7 อุบลราชธานีพบว่าพื้นที่ B ให้ผลในการดำเนินงานควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายได้ดีกว่าพื้นที่อื่น ๆ โดยมีผลทำให้จำนวนหลังคาเรือนและจำนวนภาชนะที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.01) เห็นได้ชัดดังนั้น ความร่วมมือของชุมชนจึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการควบคุมโรคไข้เลือดออกในอนาคต หากเจ้าหน้าที่สามารถกระตุ้นส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายในชุมชนด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จะทำให้การควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ผลดียิ่งขึ้น
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.