การพัฒนาคุณภาพกระบวนการการให้บริการผ่าตัดผู้ป่วยโรคทางมือ จังหวัดแพร่
คำสำคัญ:
ผ่าตัดโรคทางมือ, การพัฒนาคุณภาพบริการบทคัดย่อ
การพัฒนากระบวนการทำงานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้บริหารองค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการโรงพยาบาลแพร่ ให้บริการผ่าตัดเพิ่มมากขึ้นทุกปี มีการผ่าตัดเล็กที่เป็นโรคทางมือร้อยละ 45.0-50.0 โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในต่างอำเภอ ต้องเสียเวลาในการเดินทางเข้ามารับการตรวจรักษาและผ่าตัดที่โรงพยาบาลแพร่การศึกษาเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพกระบวนการการให้บริการผ่าตัดผู้ป่วยโรคทางมือ จังหวัดแพร่โดยใช้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องที่เรียกว่า โฟกัสพี ดี ซี เอ (Focus-PDCA) ตามแนวคิดของเดมมิ่งในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดแพร่ ระหว่างเดือนมกราคม 2557 - กันยายน 2559 พัฒนากระบวนการการให้บริการผ่าตัดผู้ป่วยโรคทางมือ จังหวัดแพร่ นำไปใช้กับผู้ป่วยโรคทางมือในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 281 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ผลลัพธ์ของการพัฒนาคุณภาพกระบวนการการให้บริการผ่าตัด ผู้ป่วยโรคทางมือ จังหวัดแพร่ ทำให้ได้แนวทางการให้บริการผ่าตัดผู้ป่วยโรคทางมือ จังหวัดแพร่ และนำไปใช้กับ ผู้ป่วยผ่าตัดในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 281 ราย ผู้ป่วยผ่าตัดมีความพึงพอใจภาพรวมของโครงการในระดับดีมาก ร้อยละ 98.3 จำนวนผู้ป่วยโรคทางมือต่างอำเภอที่ได้รับการผ่าตัดในโรงพยาบาลแพร่ ลดลง ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการพัฒนากระบวนการการให้บริการผ่าตัดผู้ป่วยโรคทางมือ จังหวัดแพร่ สามารถนำไปใช้ในการให้บริการผ่าตัดหน่วยงานที่ให้บริการผ่าตัดอื่นๆ ในลงอกรบริการตามมาตรฐาน ผู้บริหารองค์กรสามารถนำไปพัฒนาคุณภาพของ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.