เคอมินก็อซรักษาบาดแผล
คำสำคัญ:
เคอมินก็อซ; แผลเฉียบพลัน; แผลเรื้อรังบทคัดย่อ
ข้อมูลสถิติผู้รับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ถึง 2561 มีผู้มารับบริการรักษาบาดแผลจำนวน 205, 215 และ 204 ครั้ง ตามลำดับ ปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการรักษาพบว่าบาดแผลจะมีสารคัดหลั่งออกมาติดกับผ้าก็อซ ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณบาดแผลมากขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเคอมินก็อซรักษาบาดแผลในผู้มารับบริการรักษาบาดแผล ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง จากการศึกษามีผู้เข้ารับบริการจำนวน 100 คน แบ่งเป็นแผลเฉียบพลันจำนวน 90 คน และแผลเรื้อรังจำนวน 10 คน สาเหตุของการเกิดบาดแผลที่พบมากที่สุดคือ บาดแผลจากอุบัติเหตุจากการจราจร ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มแผลเฉียบพลัน ร้อยละ 100 สิ่งคัดหลั่งพื้นผิวบาดแผลลดลง พื้นผิวบาดแผลเรียบ และมีเนื้อเยื่อสีชมพูตั้งแต่การติดตามครั้งที่ 1 (3 วัน) และบาดแผลหายสนิทภายใน 15 วัน สำหรับกลุ่มแผลเรื้อรังร้อยละ 70 สิ่งคัดหลั่งพื้นผิวบาดแผลลดลง พื้นผิวบาดแผลเรียบ และมีเนื้อเยื่อสีชมพูตั้งแต่การติดตามครั้งที่ 1 (3 วัน) เมื่อเทียบกับก่อนการรักษา ส่งผลให้ผู้เข้ารับบริการมีความพึงพอใจในนวัตกรรมเคอมินก็อซรักษาบาดแผล ผลการศึกษาในครั้งนี้จึงเป็นข้อมูลที่สนับสนุนประสิทธิภาพของขมิ้นชันในการรักษาบาดแผล ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการดูแลรักษาบาดแผล ช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้น
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.