การพยากรณ์การเกิดโรคเลปโตสไปโรสิสตามฤดูกาล โดยศึกษาปัจจัยทางสภาพอากาศสำหรับประเทศไทย ปี พ.ศ. 2553-2561

ผู้แต่ง

  • สุชาดา แก้วดวงเล็ก งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร
  • สุรภา วิชาเป็ง ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • สุดารัตน์ ชาติสุทธ ภาควิชาฟิสิกส์ สถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านฟิ สิกส์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

โรคเลปโตสไปโรสิส, ฤดูกาล, น้ำฝน, อุณหภูมิ, การพยากรณ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤดูกาลของโรคเลปโตสไปโรสิสและการพยากรณ์การเกิดโรคใน
ประเทศไทย ซึ่งแบ่งเป็น 6 ภาค โดยใช้ข้อมูลย้อนหลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2561 ศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณ
น้ำฝนสะสมและอุณหภูมิเฉลี่ยซึ่งใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมโดยใช้วิธีสหสัมพันธ์แบบสเปี ยร์แมน และศึกษา
ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ กับจำนวนผู้ป่ วยโรคเลปโตสไปโรสิสโดยใช้วิธีหาค่าสหสัมพันธ์ร่วม จากนั้นสร้างแบบ
จำลองเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและพยากรณ์การระบาดโดยใช้แบบจำลองตัวแบบเชิงเส้นวางนัยทั่วไป จากการ
ศึกษาพบว่าฤดูกาลของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกคล้ายกัน โดยที่จำนวนผู้
ป่ วยจะสูงในช่วงฤดูฝนและต้นฤดูหนาว ส่วนฤดูกาลของโรคในภาคใต้ฝั่งตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกแตกต่างกัน
จากการศึกษายังพบอีกว่าปัจจัยปริมาณน้ำฝนมีส่วนช่วยในการพยากรณ์การระบาดของโรคเลปโตสไปโรสิสในทุก
ภาค ยกเว้นภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีค่า Odds Ratio ในช่วง 1.0001-1.0004 ส่วนปัจจัยอุณหภูมิมีส่วนช่วยในการ
พยากรณ์การระบาดของโรคในทุกภาค มีค่า Odds Ratio ในช่วง 0.9484-1.0832 แบบจำลองที่ได้แสดงให้เห็นถึง
ผลกระทบของปัจจัยปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิที่เวลาย้อนหลังต่างๆ ต่อการระบาดของโรคเลปโตสไปโรสิสใน 6 ภาค
ดังนั้นการควบคุมการติดเชื้อจะต้องเป็นแบบเฉพาะที่ แบบจำลองที่ได้เป็นแบบจำลองพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนา
ยุทธศาสตร์ในการเตือนภัยการระบาดเพื่อควบคุมการระบาดของโรคเลปโตสไปโรสิส ความรู้ที่ได้จากแบบจำลองนี้
ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อการระบาดของโรคอื่นที่สัมพันธ์กับปัจจัยทางสภาพอากาศ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-31

วิธีการอ้างอิง