เวชระเบียนกับการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล ในระบบกฎหมาย

ผู้แต่ง

  • วทัญญู ประเสริฐเมือง วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล, เวชระเบียน, การคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีของข้อกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพ ของบุคคลที่บันทึกเกี่ยวกับประวัติการเข้ารับบริการทางการแพทย์ไว้ในเอกสารที่เราเรียกว่า “เวชระเบียน” ทั้งที่เป็น กระดาษหรือรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบโปรแกรมประมวลผล ซึ่งข้อมูลในเวชระเบียนนี้ถือเป็นความลับของ ผู้เข้ารับบริการสุขภาพ และศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการใช้กฎหมายทีมีอยู่ในปัจจุบันที่ ่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิความเป็น- ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของบุคล เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงมาตรการว่าด้วยการคุ้มครอง สิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล โดยเฉพาะความลับของผู้ป่ วยตามความแห่งพระราช- บัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 รวมทั้งเปรียบเทียบข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติกับบทบัญญัติทางกฎหมายว่ามีความ- เหมาะสมและรับรองคุ้มครองซึ่งสิทธิได้จริงหรือไม่เพียงใด อันเกิดขึ้นเนื่องจากการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลของประเทศไทยในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่ากฎหมายคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นในประเทศไทยมีอยู่หลายฉบับแต่ก็มีลักษณะเป็นการคุ้มครองเป็นการทั่วไปไม่ได้มุ่งคุ้มครอง เจ้าของข้อมูลอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 แต่ อย่างไรก็ตาม ในแนวทางปฏิบัติของบุคลากรทางแพทย์และสาธารณสุข การรักษาความลับของผู้ป่วยถือเป็นหลัก- จริยธรรมแห่งวิชาชีพที่วางหลักยึดถือปฏิบัติที่ปรากฎในคำประกาศสิทธิของผู้ป่วย ที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องไม่เปิด เผยความลับของผู้ป่วยที่ตนได้ทราบมาจากการประกอบวิชาชีพและในทางกฎหมายก็มีบทคุ้มครองเกี่ยวกับการเปิ ด เผยข้อมูลของผู้ป่วยไม่สามารถจะกระทำได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยผู้เป็นเจ้าของข้อมูลนั้น หรือกฎหมาย กำหนดให้ต้องเปิดเผยเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น การรักษาความลับของผู้ป่ วยจึงเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของผู้- ประกอบวิชาชีพที่ต้องยึดถือปฏิบัติ ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจำเป็นต้องทำความเข้าใจหลักความ ยินยอม รวมทั้งข้อยกเว้นต่างๆ เพื่อให้สามารถประกอบวิชาชีพได้ถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพและประยุกต์ ปรับใช้แนวคิดตามกรอบแห่งกฎหมายมาพิจารณาปรับกับปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติหน้าที่กับผู้ป่วย และหา ทางออก ของปัญหาโดยมีเหตุผลทางจริยธรรมซึ่งหนักแน่นกว่าเหตุผลทางกฎหมายรองรับ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-31

วิธีการอ้างอิง