ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา หล่อโลหการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต
  • ประพรศรี นรินทร์รักษ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต

คำสำคัญ:

วิจัยแบบผสม, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส., คุณภาพชีวิต, สุขภาพจิต

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสม (mixed method research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3 อ. 2 ส. และระดับสุขภาพจิตของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดภูเก็ต ศึกษาความสัมพันธ์และปัจจัยที่มีอิทธิพล ระหว่างปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยสนับสนุน กับพฤติกรรมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของ อสม. และศึกษาแนวทางพัฒนาศักยภาพตามบทบาท อสม. จังหวัดภูเก็ต รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง อสม. 286 คน เชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่ม (Focus group) เก็บข้อมูล ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม 2562 ผลการวิจัย พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของ อสม. ระดับดีมาก ร้อยละ 21.68 ระดับดี ร้อยละ 47.20 พฤติกรรมสุขภาพระดับดีมาก ร้อยละ 59.79 ระดับสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 28.32 และคุณภาพชีวิตระดับดี ร้อยละ 61.19 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพ คือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพศ และแหล่งรายได้มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.459 สามารถอธิบายความแปรปรวนพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของ อสม. ร้อยละ 19.30 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิต คือ ระดับสุขภาพจิต ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระดับการศึกษา และระยะเวลาทำงาน อสม. มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ 0.639 สามารถอธิบายความแปรปรวนคุณภาพชีวิตโดยรวมของ อสม. ร้อยละ 39.50 จะเห็นได้ว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพ และคุณภาพชีวิต โดยการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของ อสม. โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ 0.368 และสามารถอธิบายความแปรปรวนพฤติกรรมสุขภาพ ได้ร้อยละ 12.60

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-31

วิธีการอ้างอิง