รูปแบบทางเลือกในการวิเคราะห์ Happinometer: กรณีศึกษา โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี

ผู้แต่ง

  • วิทยา บุญเลิศเกิดไกร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี

คำสำคัญ:

แบบสำรวจ Happinometer, คุณภาพชีวิต, ระดับความสุข

บทคัดย่อ

           การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบในการวิเคราะห์ผลสำรวจ Happinometer และค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสุขของบุคลากรในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ด้วยวิธีการศึกษาวิจัยเชิง-สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม Happinometer ที่พัฒนาโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัย-มหิดล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบุคลากรของโรงพยาบาล 784 คน ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง เก็บข้อมูลระหว่าง เดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมานพหุปัจจัยด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อหาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยคุณภาพชีวิตที่ทำนายระดับความสุขของบุคลากร ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 40.2 ปี การศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า สถานภาพแต่งงานอยู่ร่วมกัน รับราชการหรือพนักงานกระทรวงสาธารณสุข มีระยะเวลาทำงานในโรงพยาบาลมากกว่า 10 ปี มีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับความสุขเท่ากับ 6.8 จาก 10 คะแนน มิติคุณภาพชีวิตด้านผ่อนคลายดี (happy relax) มีคะแนนต่ำสุดเท่ากับ 51.6 จาก 100 คะแนน มิติคุณภาพชีวิตด้านจิตวิญญาณดี (happy soul) มีคะแนนสูงสุดเท่ากับ 67.5 ปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำนายระดับความสุขคือ สถานภาพสมรสที่อยู่ด้วยกัน ตำแหน่งงานและการทำงานเป็นกะ ส่วนปัจจัยคุณภาพชีวิตที่ทำนายระดับความสุข คือ ผ่อนคลายดี (happy relax) การงานดี (happy work life) และครอบครัวดี (happy family) การใช้วิธีการวิเคราะห์แบบสอบถาม Happinometer ดังกล่าว ด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมานพหุปัจจัย เป็นรูปแบบหนึ่งในการวิเคราะห์การสำรวจ Happinometer ที่สามารถบ่งชี้ปัจจัยที่มีบทบาทในการสร้างความสุขของบุคลากรในองค์กร อันจะนำมาซึ่งการส่งเสริมกิจกรรมที่ส่งผลให้บุคลากรในองค์กรมีความสุขได้อย่างยั่งยืน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-31

วิธีการอ้างอิง