การบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและข้อเสนอเชิงนโยบาย กรณีสถานการณ์โควิด-19 ในระดับประเทศและ 8 พื้นที่บริบทเฉพาะของประเทศไทย
คำสำคัญ:
โรคโควิด-19, การจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข, ถอดบทเรียน, การประเมินตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินรูปแบบ กระบวนการ ปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จและโอกาส พัฒนา ในการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกรณีโควิด-19 รวมทั้งจัดทำโมเดลประเมินสถานการณ์ เปรียบเทียบการบริหารจัดการในระดับประเทศ และใน 8 พื้นทีบริบทเฉพาะ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ข้อมูลเชิง ่ ปริมาณเก็บรวบรวมด้วยแบบประเมินตนเองที่แปลจากเครื่องมือประเมินสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของ องค์การอนามัยโลก โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงในกลุ่มผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ปฏิบัติงานป้ องกันควบคุม โรคโควิด-19 ระดับจังหวัด จำนวน 63 คน ข้อมูลเชิงคุณภาพดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกใน กลุ่มผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานระดับจังหวัด จำนวน 63 คน ผู้ปฏิบัติงานระดับอำเภอ จำนวน 80 คน และกลุ่มอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทั้งหมด 64 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564 ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อ หาข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบกระบวนการดำเนินการป้ องกันควบคุมโรคโควิด-19 ใน 8 พื้นที่บริบทเฉพาะ ใช้กลไกการขับเคลื่อนผ่านโครงสร้างของคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อระดับจังหวัด ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการ ดำเนินงานและการบริหารจัดการฯ ปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จทีสำคัญคือการบูรณาการหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ที่มีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือในการดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ ภารกิจ และศักยภาพของแต่ละองค์กรภายใต้ระบบบัญชาการที่เป็นเอกภาพ ผู้บัญชาการสูงสุดในการตัดสินใจเพียงหนึ่ง เดียวทำให้ทุกพื้นทีดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันและเสริมพลังกันเพื่อให้บรรลุเป้ าหมายในการป้ องกันควบคุมโรคโค วิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระดับประเทศในภาพรวมการประเมินการบริหารจัดการ ค่าเฉลี่ยคะแนนรวมทั้ง 7 องค์ประกอบหลักดำเนินการได้ครบถ้วน คือ (1) ภาวะผู้นำและการบริหารและการจัดการอย่างมีธรรมมาภิบาล (2) กำลังคนด้านสุขภาพ (3) เวชภัณฑ์ ยา และเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข (4) ระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ (5) การเงินการคลังด้านสุขภาพ (6) ระบบบริการสุขภาพ และ (7) การมีส่วนร่วมของชุมชน อาสา สมัครสาธารณสุข และภาคประชาชน เมื่อเปรียบเทียบการระบาดของโรคในสถานการณ์จริงระดับประเทศ ใน 8 พื้นที่บริบทเฉพาะกับโมเดลประเมินสถานการณ์ พบว่า ทุกพื้นที่บริบทเฉพาะยกเว้นพื้นที่ติดเชื้อสูง มีการระบาดของ โรครุนแรงน้อยกว่าโมเดลประเมินสถานการณ์ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการดำเนินงานควบคุมและป้ องกัน โรคที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคทั้ง 3 ระยะ พื้นทีติดเชื้อสูงเริ่มมีการระบาดตั้งแต่ปลายระยะที ่ หนึ่งและ ่ เพิ่มความรุนแรงมากกว่าการคาดการณ์ต่อเนื่องมายังระยะทีสองและระยะที ่ สาม ภาพรวมระดับประเทศ พบว่า จุดเริ่ม ่ ต้นการระบาดเริ่มจากพื้นทีกรุงเทพมหานคร และขยายตัวไปยังเขตอุตสาหกรรม หลังจากนั้นมีการกระจายตัวไปยังพื้นที ่ ่ อื่นๆ โดยทิศทางสถานการณ์หลังวันที 30 กันยายน 2564 พบว่า ในระดับประเทศ พื้นที ่ กทม. พื้นที ่ ชายแดน และพื้นที ่ ่ ห่างไกล เริ่มชะลอตัวและอยู่ในลักษณะทรงตัว ยกเว้นพื้นทีติดเชื้อสูง ยังสูงกว่าที ่ ประเมินสถานการณ์ แต่มีลักษณะเริ่ม ่ ชะลอการระบาดและทรงตัว ข้อเสนอเชิงนโยบายจากการศึกษานี้ คือ (1) การพัฒนาทักษะและเสริมศักยภาพในกลุ่ม ผู้กำหนดนโยบายและผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในการบริหารจัดการและตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน (2) การพัฒนา และบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ (3) การเตรียมความพร้อมและส่งเสริมพัฒนาการผลิตในประเทศ (4) การ พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ (5) การพัฒนาระบบการสื่อสารสร้างความเข้าใจ (6) เร่ง พัฒนาและ ปรับปรุงระบบบริหารจัดการควบคุมการเดินทางเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย (7) การพัฒนาระบบสุขภาพ ทีเกิดจาก ่ การมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนและประชาชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและพึ่งตนเองได
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.