การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพและการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมบริเวณด่านชายแดนประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วรรณรา ชื่นวัฒนา สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ชูชีพ เบียดนอก นักวิชาการอิสระ
  • เนตรดาว สงวนสิน สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • จาฤก เบียดนอก นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ, การประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม, ด่านชายแดนไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ และความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมบริเวณด่านชายแดน ประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ด้านด่านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และด่านชายแดนเชียงของ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และเสนอแนะแนวทางในการป้ องกันและแก้ปัญหาความเสี่ยงทั้งสองด่านดังกล่าว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และการเก็บตัวอย่างน้ำมาตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า ผลการ วิเคราะห์คุณภาพน้ำบริเวณด่านชายแดนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ด้านด่านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้วจัดอยู่ในเกณฑ์แหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 3 คือสามารถใช้ประโยชน์ในการอุปโภคและบริโภคโดยผ่าน การฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อน และเพื่อใช้ในการเกษตร แต่ไม่สามารถ ใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์สัตว์น้ำ การประมง การว่ายน้ำและกีฬาทางน้ำ แสดงถึงความไม่สะอาดของแหล่งน้ำ ส่วน ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (BOD) พบว่า สูงกว่ามาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินทั้งหมด แสดงถึงความสกปรกในรูป สารอินทรีย์สูง ส่วนคุณภาพน้ำบริเวณด่านชายแดนเชียงของ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย อยู่ในเกณฑ์ปกติ ความ เสี่ยงด้านสุขภาพพบว่า ในพื้นที่มีความเสี่ยงด้านโรคติดต่อ อุบัติเหตุ โจรกรรม ความขัดแย้งในชุมชน ยาเสพติดและ การค้ามนุษย์ ความเสี่ยงด้านสุขภาพพบว่า ในพื้นที่มีความเสี่ยงด้านขยะ ฝุ่นละออง ควันพิษ และน้ำเสีย สำหรับข้อ เสนอแนะประกอบด้วย การออกแบบด่านชายแดนด่านคนกับด่านขนส่งสินค้าควรแยกจากกัน หน่วยงานระดับ กระทรวงหรือกรมที่เกี่ยวข้องต้องเข้าไปช่วยเหลือการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะและน้ำเสียอย่างเร่งด่วน เนื่องจากศักยภาพ ของท้องถิ่นมีไม่เพียงพอ การบังคับใช้กฎหมายต้องเข้มงวดกว่าพื้นที่ปกติอื่นๆ การประสานความร่วมมือกับเมือง หรือประเทศตรงข้ามด่านเพื่อความร่วมมือลดปัญหาอาชญากรรม โจรกรรม ยาเสพติด และการค้ามนุษย์ มีการรณรงค์ ให้ความรู้ ปลูกฝังค่านิยมแก่ประชาชนด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง จัดแหล่งที่อยู่อาศัยของชุมชนต่าง ชาติให้เหมาะสมเพื่อการรักษาอนามัยและสิ่งแวดล้อม ออกแบบพื้นที่ตลาด/ ทำธุรกิจใหม่ ให้มีทัศนียภาพที่ดี เพื่อ รักษาอนามัยและสิ่งแวดล้อมได้ง่าย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-01-06

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ