การประเมินคุณค่าของการใช้โรคประจำตัวเพื่อวินิจฉัยสาเหตุการตายในผู้สูงอายุไทย ศึกษาในศพคดีตายไม่ทราบเหตุ

ผู้แต่ง

  • บุญศักดิ์ หาญเทอดสิทธิ์ กลุ่มงานนิติเวช โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

สาเหตุการตาย, โรคประจำตัว, ตายโดยมิปรากฏเหตุ, ผู้สูงอายุ, ชันสูตรพลิกศพ

บทคัดย่อ

การตายผิดธรรมชาติโดยมิปรากฏเหตุในผู้สูงอายุมีแนวโน้มมากขึ้นตามอัตราการเพิ่มจำนวนประชากรผู้สูง อายุ แพทย์จึงต้องเผชิญกับปัญหาการชันสูตรพลิกศพลักษณะดังกล่าวในบริบทสังคมไทย เนื่องจากไม่สามารถผ่า ชันสูตรศพด้วยเหตุผลที่ญาติไม่ติดใจสาเหตุการตาย โดยให้ระบุสาเหตุการตายจากโรคประจำตัวที่มีอยู่ หรือ “หัวใจ ล้มเหลว” หรือโรคชรา นอกจากอาจเป็นปัญหาทางการสรุปสำนวนคดีแล้ว ยังมีผลให้คุณภาพการบันทึกสาเหตุการ ตายลดลง ดังนั้น เพื่อประเมิน (1) สาเหตุการตายในผู้สูงอายุ (2) ความถูกต้องในการสรุปสาเหตุการตายโดยใช้โรค ประจำตัว และ (3) อายุที่เหมาะสมในการสรุปสาเหตุการตายจากโรคชรา จึงศึกษาข้อมูลย้อนหลังแบบภาคตัดขวาง จากศพคดีผู้สูงอายุที่ตายโดยมิปรากฏเหตุแล้วผ่าชันสูตรศพที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่าง 1 มกราคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ANOVA, t-test, Fisher’s exact, multiple logistic regres,- sion, Predictive value methods ผลการศึกษาพบว่า มีศพ 266 ราย อายุเฉลี่ย 71.78 ปี สาเหตุการตายที่พบบ่อย คือ โรคเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบ ปอดอักเสบติดเชื้อ และเส้นเลือดแดงหลังช่องท้องโป่ งพอง คุณค่าการ วินิจฉัยเหตุตายจากโรคเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบโดยใช้โรคประจำตัวไม่สูงมาก การวินิจฉัยโรคชรายังจำเป็น ต้องผ่าชันสูตรศพเพื่อตัดสาเหตุการตายอย่างอื่นออกก่อน จึงยังไม่สามารถระบุอายุที่เหมาะสมสำหรับกรณีชราภาพ ได้ นอกจากนั้น การผ่าชันสูตรศพจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญในการเฝ้ าระวังการบาดเจ็บและอาชญากรรมในสังคม ได้ และยังช่วยพัฒนาคุณภาพการรักษาผู้ป่ วยให้ดีขึ้นด้วยการตรวจสอบการตายที่เกิดจากความผิดพลาดทางการแพทย์

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-01-06

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ