ประสิทธิผลโปรแกรมการรับรู้และป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง 5 ฐานเพื่อชีวิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา หล่อโลหการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต
  • ประพรศรี นรินทร์รักษ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต
  • รัชนีกร ถิรตันตยาภรณ์ โรงพยาบาลถลาง จังหวัดภูเก็ต
  • Si Sunthon Health Promoting Hospital, Phuket, Thailand

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, วิจัยกึ่งทดลอง, โปรแกรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง 5 ฐานเพื่อชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการรับรู้และป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 72 คน ที่ขึ้นทะเบียนความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ 140/90 mmHg ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง (experimental group) และ กลุ่มเปรียบเทียบ (comparison group) โดยวัดก่อนและหลังการทดลอง (two group pretest-posttest design) สุ่ม ตัวอย่างอย่างง่าย (simple random sampling) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 2 แห่ง เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ คัดเลือกผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แห่งละ 36 คน ออกแบบโปรแกรมการรับรู้ และป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง 5 ฐานเพื่อชีวิต ประกอบด้วย (1) ตระหนักรู้ในตน (2) เตือนตนปลอดภัยไกล โรคหลอดเลือดสมอง (3) กายใจประสานต้านโรคหลอดเลือดสมอง (4) กินดีอยู่ดี ชีวีมีสุข (5) ยานั้นสำคัญไฉน เพื่อนำไปใช้ และประเมินผล การรับรู้ปัจจัยเสี่ยง อาการเตือน และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอด เลือดสมอง หลังทดลอง 6 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค ค่าความเชื่อมั่น 0.95 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลอง มีการรับรู้อาการเตือน จาก 2.44 เพิ่มเป็น 3.91 คะแนน พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง จาก 3.31 เพิ่มเป็น 3.83 คะแนน และรับรู้ปัจจัยเสี่ยง โรคหลอดเลือดสมอง จาก 2.68 เพิ่มเป็น 3.72 คะแนน เมื่อทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติการทดสอบทีคู่ (paired t-test) พบว่า การรับรู้ปัจจัยเสี่ยง อาการเตือน และพฤติกรรมการดูแลตนเอง สูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (t=-5.19, p=0.00) (t=-6.04, p=0.00) และ (t=-2.71, p=0.01) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยใช้สถิติ Independence sample t -test พบว่า หลังทดลอง ค่าเฉลี่ยการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง อาการเตือน และพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ p<0.05 โดยมีค่าเฉลี่ยของผลต่าง 8.50 (95%CI: 5.49-11.51), 7.08 (95%CI: 4.29-9.88) และ 10.78 (95%CI: 6.40-15.15) ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-01-06

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ