ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของ นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ศศนัชสรณ์ ประสมทรัพย์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กิตติคุณ ปานน้อย ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นิจนาวี คำไชยเทพ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผกามาศ ไมตรีมิตร ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ศรัณย์ กอสนาน กลุ่มวิชาเภสัชกรรมสังคมและการบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

นักศึกษาเภสัชศาสตร์, ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด, การเห็นคุณค่าในตนเอง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด และค้นหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ เก็บข้อมูลในนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ ระดับชั้นปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 745 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมินความเครียดดัดแปลงจากแบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข (SPST-20) และแบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเองของ Rosenberg จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 6 ได้การตอบรับทั้งสิ้น 379 คน (อัตราการตอบกลับ ร้อยละ 97.2) พบว่า นักศึกษามีคะแนนความเครียดรวมทุกข้อเฉลี่ย 48.8±12.7 คะแนน จากคะแนนเต็มรวม 90 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ในระดับความเครียดสูง โดยนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 3 มีคะแนนความเครียดสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ระดับชั้นปีที่ 2, 4, 6, 1 และ 5 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของนักศึกษาคือ รายได้ต่อเดือนของครอบครัว สถานภาพครอบครัว การนอน ความสัมพันธ์กับเพื่อน และความสัมพันธ์กับอาจารย์ โดยเวลาที่ใช้ในการนอน และระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง เป็นปัจจัยทำนายที่มีอิทธิพลทางลบต่อความเครียดของนักศึกษากลุ่มนี้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-01-06

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ