การเสริมพลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการเฝ้าระวังสุขาภิบาลอาหารและน้ำ เพื่อป้องกันโรคอุจจาระร่วง ในเขตสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • ไฉไล ช่างดำ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี กรมอนามัย
  • วรุณสิริ ปทุมวัน ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี กรมอนามัย
  • เยาวธิดา วันสิงห์สู่ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี กรมอนามัย

คำสำคัญ:

การเสริมพลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การเฝ้าระวังสุขาภิบาลอาหารและน้ำ, โรคอุจจาระร่วง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมพลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการสุขาภิบาลอาหารและน้ำเพื่อ ป้ องกันโรคอุจจาระร่วง โดยใช้กระบวนการ Appreciation - Influence - Control (A-I-C) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ประธานกลุ่มแม่บ้าน อาสาสมัครสาธารสุข และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องใน การจัดการสุขาภิบาลอาหารและน้ำในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานสาธารณสุขในตำบลที่มีอัตราป่วย ด้วยอุจจาระร่วงสูงสุดของแต่ละจังหวัดรวมทั้งสิ้น 50 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสำรวจ แบบทดสอบ ความรู้ แบบบันทึกและแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้เรื่องโรคอุจจาระร่วงหลังการเสริมพลัง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001,95%CI=0.422 ถึง 1.343) และผลของการประชุมวางแผนด้วย กระบวนการ A-I-C ได้โครงการป้ องกันปัญหาโรคอุจจาระร่วงในพื้นทีได้ 6 โครงการ ผลการติดตามและถอดบทเรียน ่ พบว่า ทุกโครงการสามารถดำเนินการได้โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัจจัย แห่งความสำเร็จในการดำเนินการคือ (1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นทีรับทราบข้อมูลสถานการณ์ ่ โรคอุจจาระร่วงในพื้นที่ของตนเอง (2) ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์และกำหนดไปสู่ เป้ าหมาย และสร้างแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง (3) มีสนับสนุนด้านวิชาการของหน่วยงานในการเป็นวิทยากร และพี่เลี้ยงในการลงพื้นที่ สร้างความมั่นใจให้กับชุมชน ส่งผลให้เกิดความตระหนักและความร่วมมือในการเฝ้ าระวัง ด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำที่จะนำไปสู่การลดการป่ วยด้วยโรคอุจจาระร่วงต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-02-23

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ