การรักษาผู้ป่วยโรคเกาต์ที่มีไตเสื่อมเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • จินตาหรา มังคะละ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลหนองคาย

คำสำคัญ:

เกาต์, ระดับกรดยูริกในเลือดสูง, ยาลดกรดยูริก, ไตเสื่อมเรื้อรัง

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยไตเสื่อมเรื้อรังน้อยกว่าระยะ 4-5 จะควบคุมระดับกรดยูริกได้สูงกว่ากลุ่มที่มีไตเสื่อมเรื้อรังระยะ 4-5 (ร้อยละ 34.6 และ 22.2 ตามลำดับ) และผู้ป่ วยที่ได้รับการรักษาโดยอายุรแพทย์โรคไต ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการปรับ ขนาดยาลดกรดยูริกตามระดับการทำงานของไตปัจจุบัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ การรักษาโรคเกาต์ให้ได้ตามเป้ าหมายในผู้ป่ วยไตเสื่อมเรื้อรังที่มีระดับการทำงานของไตน้อยกว่า 60 มล./นาที โดย เก็บข้อมูลแบบย้อนหลังของผู้ป่ วยโรคเกาต์ (รหัส ICD 10 M100-109) ที่มีระดับการทำงานของไตน้อยกว่า 60 มล./นาที/1.73 ตร.ม. ทีมารับการรักษาที ่ คลินิกรักษ์ข้อ โรงพยาบาลหนองคายตั้งแต่ 1 ก.ค. 2553 - 31 ธ.ค. 2563 ่ วิธีการศึกษาเป็นเชิงพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคเกาต์ให้ได้ตามเป้ าหมายคือ ระดับกรดยูริก ต่ำกว่า 5.0 มก.ต่อดล.ในผู้ป่ วยที่มีปุ่ มก้อนโทฟัส และต่ำกว่า 5.5 มก.ต่อดล.ในผู้ป่ วยที่ไม่มีปุ่ มก้อนโทฟัส ใช้สถิติ Chi-square test หรือ Fisher’s exact test (95%CI, p<0.05) พบผู้ป่ วยที่มีคุณสมบัติเข้าในการวิจัยทั้งหมด 247 ราย ได้ระดับกรดยูริกตามเป้ าหมาย ร้อยละ 84.2 มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคเกาต์ให้ได้ตามเป้ าหมายได้แก่ ดัชนีมวลกาย ปุ่ มก้อนโทฟัส ไขมันในเลือดสูง นิ่วที่ไต ระยะเวลาในการรักษา และการหยุดยา (p<0.05) โดยที่ระดับ การทำงานของไตหลังการรักษามีแนวโน้มดีกว่าก่อนการรักษาในทุกระยะ แต่มีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในผู้ป่ วยที่มี ไตเสื่อมเรื้อรังระยะที่ 3, 4 (p<0.05) โดยสรุป กุญแจสำคัญในการทำให้ระดับกรดยูริกได้ตามเป้ าหมายในผู้ป่ วยไต เสื่อมเรื้อรังคือ การประเมินดัชนีมวลกาย โรคประจำตัวโดยเฉพาะไขมันในเลือดสูง นิ่วทีไต ปุ่ มก้อนโทฟัส ความร่วมมือ ่ ในการรับประทานยาของผู้ป่ วย เพื่อวางแผนการรักษา ร่วมกับการค่อยๆปรับขนาดยาลดกรดยูริกโดยแพทย์แบบ “Go low, Go slow” ทำให้ระดับการทำงานของไตดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อน และผู้ป่ วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-02-23

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ