การศึกษาและพัฒนากระบวนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอกมลาไสยและอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 2557
คำสำคัญ:
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, การพัฒนาการตรวจเบื้องต้นทางห้องปฏิบัติการ, มาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์บทคัดย่อ
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพ ความถูกต้อง แม่นยำ การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขตอำเภอกมลาไสยและอำเภอฆ้องชัย เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 1 กลุ่ม (quasi-experimental research: one group pre test - post test design) กลุ่มตัวอย่างได้แก่บุคลากรที่ให้บริการตรวจวิเคราะห์ทาง ห้องปฏิบัติการเบื้องต้นในโรงพยาบาลชุมชนฆ้องชัยและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในเขตอำเภอ-กมลาไสยและอำเภอฆ้องชัย กลุ่มตัวอย่างได้รับการอบรมการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น ได้แก่ การตรวจ น้ำตาลปลายนิ้ว การตรวจปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่น การทดสอบการตั้งครรภ์ การตรวจน้ำตาลกลูโคสและโปรตีนในปัสสาวะ และหน่วยงาน รพ.สต. ได้รับการประเมินคุณภาพมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม และประเมินคุณภาพมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการก่อนและหลังการ พัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินความรู้การตรวจทางห้องปฏิบัติการและแบบประเมินมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบข้อมูลก่อน-หลังการทดลอง โดย paired t-test และ Wilcoxon signed ranks test ผลการศึกษาพบว่าหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการประเมินตามมาตรฐานคุณภาพทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของหน่วยงาน พบว่ามีระดับคะแนนเฉลี่ยตามเกณฑ์มาตรฐานมากกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และทุกแห่งได้รับการรับรองมาตรฐาน
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.