การบูรณาการการดูแลระยะยาวในการป้องกันและควบคุมโรคในถิ่นทุรกันดารร่วมกับโรค COVID-19 ในผู้สูงอายุ ในจังหวัดเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
การบูรณาการการดูแลระยะยาว, โรคในถิ่นทุรกันดาร, โรค COVID-19, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ในการปฏิบัติตัวในการป้ องกันโรคในถิ่นทุรกันดาร ของผู้สูงอายุ ร่วมกับโรค COVID-19 ในจังหวัดเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 2 จังหวัด และนำปัจจัยที่ได้มา พัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในถิ่นทุรกันดารร่วมกับโรค COVID-19 เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 666 คน ดำเนินการระหว่างเดือนมิถุนายน 2564 – มกราคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้น ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ค่า IOC มีค่าตั้งแต่ 0.67 ขึ้นไป โดยระดับความเชื่อมั่น (Reliability) >0.70 ขึ้นไป ทุกตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด สถิติเชิงวิเคราะห์ หาความ สัมพันธ์ของปัจจัยกับการรับรู้ในการปฏิบัติตัวในการป้ องกันโรคในถิ่นทุรกันดารของผู้สูงอายุ ร่วมกับโรค COVID-19 ในจังหวัดเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของ Pearson วิเคราะห์สมการทำนายความ สัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองกลุ่ม โดยการใช้สถิติถดถอยเชิงพหุ (multiple linear regression) แบบ step-wiseวิเคราะห์ผลการพัฒนารูปแบบโดยใช้ paired T-test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ความรุนแรงของการ เกิดโรคในถิ่นทุรกันดารอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง ส่วนการรับรู้ประโยชน์ของการป้ องกันการเกิดโรคในถิ่นทุรกันดาร และความสามารถในการปฏิบัติตัวเพื่อการป้ องกันการเกิดโรคในถิ่นทุรกันดารอยู่ในระดับสูง ในทางกลับกันการปฏิบัติตัว ในการป้ องกันโรคในถิ่นทุรกันดารของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับต่ำ การสนับสนุนทางด้านสังคมอยู่ในระดับสูง และ คุณภาพชีวิตในช่วงการระบาดของโรคโควิดของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ พบว่า ตัวแปรซึ่งเป็นปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ในการปฏิบัติตัวในการป้ องกันโรคในถิ่นทุรกันดารของผู้สูงอายุ ่ ร่วมกับโรค COVID-19 ในจังหวัดอุบลราชธานี เรียงตามลำดับตัวแปรทีดีที ่ สุดในการทำนาย ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ ของการป้ องกันการเกิดโรคในถิ่นทุรกันดาร การปฏิบัติตัวในการป้ องกันโรคฯ ปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ ปัจจัย ด้านจิตวิทยาและปัจจัยทางสังคม ตามลำดับ โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคะแนนการรับรู้ในการ ปฏิบัติตัวในการป้ องกันโรคในถิ่นทุรกันดารของผู้สูงอายุร่วมกับโรค COVID-19 ได้ร้อยละ 61.9 (R2 =0.619, R2 adj= 0.616, SEest=0.36473, F= 97.585, p<0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรที่ดี ที่สุดในการทำนายการรับรู้ในการปฏิบัติตัวในการป้ องกันโรคในถิ่นทุรกันดารของผู้สูงอายุ ร่วมกับโรค COVID-19 ในจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของการป้ องกันการเกิดโรคในถิ่นทุรกันดารและการปฏิบัติตัวในการ ป้ องกันโรคหนอนพยาธิ ตามลำดับ โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคะแนนการรับรู้ในการปฏิบัติตัว ในการป้ องกันโรคฯได้ร้อยละ 13.3 (R2 =0.133, R2 adj=0.118, SEest=0.44568, F= 2.731, p=0.006 ) ได้รูปแบบ การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในการป้ องกันและควบคุมโรคในถิ่นทุรกันดารร่วมกับโรค COVID-19 คือ (1) การพัฒนาศักยภาพให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้ดูแลผู้สูงอายุ (2) การส่งเสริมการออกกำลังกายทีเหมาะสม ่ ในผู้สูงอายุ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนและส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้ดูแลผู้สูงอายุมีพฤติกรรมและความรู้ที่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.