การรับรู้และการระลึกได้ของประชาชนต่อการโฆษณาเครื่องดื่มผ่านตราสัญลักษณ์ที่คล้ายคลึงกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
คำสำคัญ:
การโฆษณา, การรับรู้, การจดจำ, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บทคัดย่อ
จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2560 พบว่า ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 28.4 เพศชายดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 47.5 และเพศหญิงดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 10.6 จากพฤติกรรมการ บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทย แสดงว่าธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีมูลค่าทางการตลาดมหาศาลและมีการ แข่งขันทางการค้าสูงมาก ถึงแม้ว่าจะมีพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เป็นเครื่องมือใน การควบคุมแต่ยังคงพบว่ามีการดัดแปลงตราสัญลักษณ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อย แต่ยังคงคุณลักษณะที่ ไม่แตกต่างจากตราสัญลักษณ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาใช้ในการโฆษณาเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อศึกษาความแตกต่างของการรับรู้และการระลึกได้ของประชาชนในเพศชายและหญิงที่มีต่อการ โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านตราสัญลักษณ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และความแตกต่างของแรงจูงใจในการซื้อ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในเพศชายและหญิงจากการโฆษณาตราสัญลักษณ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนทั่วไปอายุ 15-60 ปี ที่อยู่ในประเทศไทย จำนวน 3,267 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า Chi-square ผลการ ศึกษา พบว่าผู้ร่วมวิจัยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 50.2) มีอายุเฉลี่ย 34 ปี พบเห็นการโฆษณาตราสินค้าทาง โทรทัศน์ (ร้อยละ 78.1) นอกจากนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างรับทราบและระลึกถึงตราสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แม้ว่าจะมีการดัดแปลงตราสัญลักษณ์ไปใช้ในสินค้าประเภทอื่น รวมถึงพบว่าการรับรู้และการระลึกได้ว่าเป็นภาพโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และแรงจูงใจของภาพโฆษณามีต่อการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และมีความแตกต่างกัน ระหว่าง เพศ ดังนั้นการรู้เท่าทันกลยุทธ์การโฆษณา และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในอนาคตจะช่วยควบคุมและลดแรงจูงใจในการเลือกบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่ม สตรี เด็กและเยาวชนลง
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.