การป้องกันโรคเบาหวานในสภาพการณ์ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วีรชัย ศรีวณิชชากร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เพชร รอดอารีย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

คำสำคัญ:

การคัดกรองเบาหวาน, การประเมินความเสี่ยง, น้ำตาลในเลือด, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

บทคัดย่อ

ความชุกของโรคเบาหวานในประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลา 20 ปีทีผ่านมา การป้ องกัน ่ ไม่ให้เกิดโรคเบาหวานในอนาคตต้องอาศัยการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยให้ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกที่สามารถ ป้ องกันการเกิดโรคได้ ภาวะก่อนเป็นเบาหวานจัดเป็นภาวะที่มีความเสี่ยงสูงต่อทั้งการเกิดเบาหวาน โรคหัวใจและ หลอดเลือด รวมถึงความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังทางหลอดเลือดและความผิดปกติอื่นๆ ซึ่งภาวะดังกล่าว จะมีโอกาสดำเนินโรคเป็นเบาหวานในอนาคต ประมาณร้อยละ 5-20 ต่อปี การใช้ระบบประเมินความเสี่ยงและการ คัดกรองภาวะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีสมุฏฐานจากความผิดปกติของน้ำตาลในเลือด มีวัตถุประสงค์ คือ การค้นหาผู้ที่ เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และผู้ทีไม่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน เข้าสู่กระบวนการป้ องกันและรักษา เพื่อไม่ให้ดำเนินโรค ไปสู่ระยะทีมีความผิดปกติของร่างกาย และเกิดความสูญเสียตามมา การคัดกรองในผู้ที ่ มีความเสี ่ ยงที ่ จะเกิดโรคเบาหวาน ่ หรือผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน สามารถทำได้โดยเครื่องมือที่ใช้อาจมีข้อดี/ข้อจำกัด ในการทำนายการเกิดเบาหวานที่ แตกต่างกัน ซึ่งในบริบทของประเทศไทย การประเมินเป็น 2 ขั้นตอนโดย (1) การประเมินเบื้องต้นด้วย คะแนน ความเสี่ยงเบาหวานของไทย และหรือการพิจารณาว่ามีปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานก่อน (2) จึงพิจารณาให้ตรวจคัดกรองด้วยระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารก่อน และพิจารณาการตรวจระดับน้ำตาลหลังรับประทานกลูโคสประมาณ 75 กรัม 2 ชั่วโมงในกรณีที่ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารมากกว่า 110 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะทำให้ตรวจพบ คนที่เป็นเบาหวาน และภาวะก่อนเป็นเบาหวาน ได้ครอบคลุมมากขึ้น และการจัดให้มีระบบส่งต่อเพื่อทำการรักษา อย่างเหมาะสมโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตั้งแต่ระยะแรกอย่างต่อเนื่อง จะสามารถลดภาระโรคที่เกิดขึ้นจาก โรคเบาหวานทั้งในระดับบุคคลและในระดับประเทศ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

บทความปริทัศน์