พฤติกรรมไม่ปลอดภัย และการเกิดอุบัติเหตุ ในกระบวนการจัดการขยะของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เวสารัช สรรพอาษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อารุญ เกตุสาคร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมไม่ปลอดภัย, คนงานร้านรับซื้อของเก่า, อุบัติเหตุในกระบวนการจัดการขยะ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมไม่ปลอดภัยและการเกิดอุบัติเหตุในกระบวนการจัดการขยะ ของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า และความสัมพันธ์ของปัจจัยคุกคามด้านสุขภาพกับพฤติกรรมไม่ปลอดภัยในกระบวนการจัดการขยะของคนงานในร้านรับซื้อของเก่าในพื้นที่เขตบางเขน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ คนงานในร้านรับ ซื้อของเก่าในพื้นทีเขตบางเขน จำนวน 124 ราย โดยทำการศึกษาแบบตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทดสอบความน่าเชื่อถือ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.81 และใช้เครื่องมือทางสุขศาสตร์ อุตสาหกรรมตรวจวัดระดับ แสง เสียง ฝุ่นขนาดเล็ก แบคทีเรีย และเชื้อราโดยรวมในอากาศ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ของประชากร โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปร ตาม ได้แก่ chi-square, วิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยว (univariate analysis) โดยใช้ Odds ratio 95% confidence interval of odds ratio และ logistic regression analysis ผลการศึกษาพบว่า คนงานในร้านรับซื้อของเก่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 31.23 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา สถานภาพโสด ไม่มีบุตร ไม่มีสมาชิกในครอบครัวอยู่ในความ ดูแล ประสบการณ์ทำงานเฉลี่ย 1.78 ปี ทำงานหกวันต่อสัปดาห์ ทำงานแปดชั่วโมงต่อวัน รายได้เฉลี่ยวันละ 356.25 บาท ไม่มีอาชีพเสริม ไม่มีโรคประจำตัว รับรู้เกี่ยวกับการป้ องกันอันตรายในกระบวนการทำงานอยู่ในระดับสูง มี ความรู้เกี่ยวกับการป้ องกันอันตรายในกระบวนการทำงานอยู่ในระดับสูง มีเจตคติเกี่ยวกับการป้ องกันอันตรายใน กระบวนการทำงานระดับปานกลาง มีระดับแรงจูงใจเกี่ยวกับการป้ องกันอันตรายในกระบวนการทำงานระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมการจัดการขยะในระดับไม่ปลอดภัย และในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา คนงานเคยเกิดอุบัติเหตุจากการ ทำงาน ผลจากการตรวจวัดระดับ เสียง ฝุ่นขนาดเล็ก และเชื้อราโดยรวมในอากาศ พบว่า อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และ จากการตรวจวัดระดับความเข้มของแสงสว่าง พบว่า ร้านรับซื้อของเก่า จำนวน 3 ร้าน มีระดับความเข้มของแสงสว่าง ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมไม่ปลอดภัย พบว่า ระดับการศึกษา และประสบการณ์ ในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมไม่ปลอดภัย และปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน คือ บริเวณที่ปฏิบัติงานพื้นลื่น มีน้ำขัง ดังนั้น การจะลดพฤติกรรมไม่ปลอดภัยของคนงานในร้านรับซื้อของเก่าควร เสริมสร้างการรับรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงาน สร้างแรงจูงใจในการทำงานอย่างปลอดภัย และควรมีการทบทวน ความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานแก่คนงานอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้