ผลของการให้ความรู้เรื่องเทคนิคการสูดยาเพื่อการควบคุมอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • จิตสุภา อ่อนนิภา กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

คำสำคัญ:

เทคนิคการสูดยา, โรคหืด, โรคปอดอุดกั้นเรื้ อรัง

บทคัดย่อ

การใช้ยาสูดเป็นยาหลักในการรักษาผู้ป่ วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ข้อมูลจากหลายการศึกษาพบว่า ผู้ป่ วยส่วนใหญ่ใช้ยาสูดไม่ถูกต้อง การให้ความรู้เรื่องเทคนิคการสูดยาน่าจะช่วยควบคุมอาการและลดการกำเริบ เฉียบพลันในผู้ป่ วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ความรู้เรื่อง เทคนิคการสูดยากับการควบคุมอาการและการกำเริบเฉียบพลัน และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ยาสูดไม่ถูกต้องใน ผู้ป่ วยโรคหืดหรือปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีประวัติกำเริบเฉียบพลันในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ วิธีการศึกษาเป็น รูปแบบการศึกษากึ่งทดลองในผู้ป่ วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีประวัติกำเริบเฉียบพลันในปี ที่ผ่านมาจำนวน 42 ราย แพทย์ประเมินและสาธิตวิธีการสูดยาโดยใช้อุปกรณ์ยาหลอก ติดตามผลทุกๆ 3 เดือน เป็นระยะเวลา 1 ปี เก็บข้อมูลประวัติการกำเริบเฉียบพลันและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ประเมินอาการโดยใช้แบบสอบถาม ACT CAT และ mMRC เปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกก่อนและหลังเข้าร่วมการศึกษา มีผู้ป่ วยเข้าร่วมการศึกษา 42 ราย โรคหืด 21 ราย (ร้อยละ 50.0) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 25 ราย (ร้อยละ 64.1) อายุเฉลี่ย 61.35±15.83 ปี มีผู้ป่ วยที่ใช้ยาสูดไม่ถูกต้อง 38 ราย (ร้อยละ 90.48) หลังได้รับความรู้เรื่องเทคนิคการสูดยา ติดตามเป็นระยะเวลา 1 ปี สัดส่วนของผู้ป่ วยที่ใช้ยาสูดไม่ถูกต้องลดลงจากร้อยละ 90.48 เป็นร้อยละ 17.95 (p<0.05) อัตราการกำเริบ เฉียบพลันลดลงจาก 4.21±5.23 ครั้ง/ปี เป็น 1.14±2.59 ครั้ง/ปี (p<0.05) อัตราการเข้ารับการรักษาในโรง พยาบาลลดลงจาก 2.02±3.41 ครั้ง/ปี เป็น 0.59±1.74 ครั้ง/ปี (p<0.05) การประเมินอาการโดยใช้ ACT และ CAT ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่ วยที่ไม่เคยได้รับการประเมินและการแนะนำการใช้ยาสูดจากแพทย์เป็นปัจจัย ที่สัมพันธ์กับการใช้ยาสูดไม่ถูกต้อง (OR=11.25, 95%CI 1.26-123.24; p<0.05) โดยสรุป การศึกษานี้พบ ผู้ป่ วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังส่วนใหญ่ใช้ยาสูดไม่ถูกต้อง การประเมินเทคนิคการสูดยาและการให้ความรู้ เรื่องการสูดยาในระหว่างการตรวจผู้ป่ วยนอกโดยแพทย์มีความสำคัญ ช่วยลดการใช้ยาสูดไม่ถูกต้อง ลดอัตราการ กำเริบเฉียบพลัน ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล และควบคุมอาการของโรคได้ดีขึ้น ดังนั้นเราควรประเมินและให้ ความรู้เทคนิคการสูดยาแก่ผู้ป่ วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีประวัติกำเริบเฉียบพลัน บ่อย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ