การศึกษาปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมที่กำหนดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิต ภาวะสังคมไทยด้านสุขภาพของประชาชน
คำสำคัญ:
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อการเป็น โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตภาวะสังคมไทย และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์หาค่าความน่าจะเป็น ที่จะเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประชาชนจากตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเป็นโรค ซึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนี้เป็นปัญหา สาธารณสุขที่ก่อให้เกิดภาระทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งยังส่งผลต่อความสูญเสียปี สุขภาวะของประชากรไทย การ วิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกแบบพหุกลุ่ม หน่วยวิเคราะห์คือข้อมูลทุติยภูมิระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2557–2561 จำนวนข้อมูลที่เก็บ 385 ชุดจากแหล่งเผยแพร่ข้อมูลสุขภาพประชาชนของหน่วยงาน ด้านเศรษฐกิจและสังคม ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ่ (โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ) ได้แก่ จำนวนปีที่เรียน รายได้ต่อหัวประชากร งบประมาณการ ส่งเสริมสุขภาพ และจำนวนคนป่ วยโรคซึมเศร้า และ (2) สมการพยากรณ์ค่าความน่าจะเป็นที่จะเป็นโรคมีความถูก ต้องแม่นยำในการพยากรณ์โดยรวมร้อยละ 80.28 ถือว่ามีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง ดังนั้น รูปแบบการเพิ่มคุณภาพ ชีวิตของประชาชนคือการยกระดับรายได้ต่อหัวประชากร การส่งเสริมสุขภาพ การให้การศึกษารวมไปถึงการสร้าง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และเฝ้ าระวังการป่ วยด้วยโรคซึมเศร้า และใช้สมการพยากรณ์หาค่าความน่าจะเป็นที่จะเป็น โรคเพื่อการวางแผน การส่งเสริมสุขภาพและการป้ องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป
Downloads
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ข้อมูล เศรษฐกิจและสังคม [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 15 เม.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.nesdc.go.th/ main.php?filename=qgdp_page
วิวัฒน์ โรจนพิทยากร. สถานการณ์และแนวโน้มทางสุขภาพ ของประเทศไทย 2561-2563. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;28(2):185-6.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงาน สถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤต-สังคม. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2557.
กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 6 ก.พ. 2564]. แหล่ง ข้อมูล: https://covid19.ddc.moph.go.th/
อังศินันท์ อินทรกำแหง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: การวัดและ การพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2560.
World Health Organization. Healthy lifestyle [Internet]. 2005 [cited 2019 Mar 29]. Available from: https:// simple.wikipedia.org/wiki/Healthy_lifestyle
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2561.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ภาวะ สังคมไทย: ไตรมาส 4 ปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้น เมื่อ 1 เม.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.nesdc. go.th/ewt_dl_link.php?nid=5485
Lago S, Rivera B, Cantarero D, Casal B, Pascual M, Blazquez C, et al. The impact of socioeconomic position on non-communicable diseases: what do we know about it. J Sage 2021;141(3):158-76.
Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Journal of Education and Psychological Measurement 1970;30(3):607-10.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือผู้ใช้สิทธิ หลักประกันสุขภาพ. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2564.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ข้อมูลสถิติที่สำคัญ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 9 เม.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: http:// statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/index.aspx
กระทรวงสาธารณสุข. ทำเนียบสถานบริการสุขภาพ ปี งบประมาณ 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 9 เม.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://dmsic.moph.go.th/index/ downloadlist/0/3
กรมสุขภาพจิต. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 9 ก.พ. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.dmh.go.th/test/whoqol/
กรมควบคุมโรค. จำนวนและอัตราผู้ป่ วยในโรคไม่ติดต่อ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 8 ก.พ. 2564]. แหล่ง ข้อมูล: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1-020
World Health Organization. NCDs and development [Internet]. 2011 [cited 2021 Feb 10]. Available from; https://www.who.int/nmh/publications/ncd_report_ chapter2.pdf
World Health Organization. Study protocol for the World Health Organization project to develop a quality of life assessment instrument (WHOQOL). Geneva: World Health Organization; 1993.
ดวงกมล คณโฑเงิน. ปัจจัยชี้วัดคุณภาพชีวิตของประชาชน ในเขตควบคุมมลพิษของประเทศไทย. MFU Connexion 2556;2(2):1-34.
Pender NJ. Health promotion in nursing practice. 3rd ed. Stamford, CT: Appleton and Lang; 1996.
Oshio T, Kan M. Education level as a predictor of the incidences of non-communicable diseases among middle-aged Japanese: a hazards-model analysis. BMC Public Health 2019;19(852):1-11.
Sousa N, Barros M, Medina L, Malta D, Szwarcwald G. Association major depressive disorder with chronic diseases and multimorbidity in Brazilian adults, stratified by gender 2019: National Health Survey. Brazil: Rev Bras Epidemiol [Internet]. 2021 [cited 2024 Feb 15]; 24(suppl 2):1-13. Available from: https://doi. org/10.1590/1980-549720210015.supl.2
ดาว สงวนรังศิริกุล, หรรษา เชี่ยวอนันตวานิช, มณีรัตน์ แสงเกษม. การศึกษาเปรียบเทียบเพื่อหาตัวแบบที่เหมาะสม สำหรับการพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคเฝ้าระวังทาง ระบาดวิทยาในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้า ธนบุรี 2558;38(1):35-55.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.